เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ
การเดินทางด้วยรถยนต์ ต้องเผชิญกับหลากสภาพและรูปแบบการขับ เช่น การขับตอนกลางคืน หรือการขับบนทางชัน ซึ่งแต่ละสถานการณ์มีเทคนิคการขับอย่างปลอดภัยต่างกัน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
รถยนต์ติดบนทางชัน
สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หากเป็นการจอดติดที่นานมาก สามารถดึงเบรกมือไว้ เหยียบเบรก พร้อมปลดตำแหน่งมายังเกียร์ว่าง-N นอกจากเป็นการติดช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาที สามารถเหยียบแป้นเบรกค้าง หรือ ดึงเบรกมือไว้ โดยตำแหน่งเกียร์ยังอยู่ที่ D เมื่ออกตัวก็ยกเท้าจากแป้นเบรกมากกดคันเร่ง แล้วจึงปลอดเบรกมือ
บางคนคิดว่าการกระทำแบบนี้ จะทำให้เครื่องยนต์เสียหาก ซึ่งเป็ฯความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะขณะจอดนิ่ง เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบา จึงมีภาระน้อย และในชุดเกียร์อัตโนมัติก็ไม่มีการขับเคลื่อนใด ๆ เพราะมีการเบรกอยู่ และที่ทอร์คคอนเวิร์ดเตอร์ก็สามารถหมุนฟรีได้
แต่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์สลับไป-มา ระหว่างเกียร์ N และD ชุดคลัตช์จะมีการจับ-ปล่อยหลายครั้ง ทำให้มีความสึกหรอมากกว่าการค้างอยู่ในเกียร์ D และเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือไว้ กรณีนี้คล้ายกับการจอดรถยนต์บนการจราจรทางราบปกติ ควรเหยียบเบรกและค้างไว้ที่ตัว D ไม่ต้องปลดมาที่N ถ้าไม่ได้จอดริมทางหรือการจราจรติดขัดอย่างหนัก
ส่วนรถยนต์เกียร์ธรรมดาที่ต้องหยุดบนทางลาดชัน ให้ดึงเบรกมือและปลดเป็นเกียร์ว่าง ก่อนออกตัวเหยียบแป้นเบรก พร้อมเข้าเกียร์ 1 จากนั้นจึงปล่อยคลัตช์และค่อย ๆ เหยียบคันเร่ง เมื่อเริ่มรู้สึกว่ารถยนต์กำลังเคลื่อนตัวจึงปลดเบรกมือลง วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และไม่ต้องเสี่ยงกับการที่รถยนต์ไหลไปชนกับคันหลังอีกด้วย
ขับกลางคืนอย่างมั่นใจ
หลายคนอาจชอบการขับรถยนต์ตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องเผชิญกับการจราจรที่ติดขัดหรือแดดร้อน ทำให้ขับได้สบายและใช้ความเร็วได้สูงกว่า
ความจริงแล้ว การขับในตอนกลางคืนแม้สบายจริง แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นถูกจำกัด ทำให้มีเวลาในการตัดสินใจน้อยลง จึงควรใช้ความเร็วต่ำกว่าตอนกลางวัน
ส่ายสายตาป้องกันการหลับใน
การสร้างความตื่นตัวตลอดเวลาที่ขับตอนกลางคืนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะร่างกายอาจอ่อนล้ามาจากการทำงานในช่วงกลางวัน จนทำให้ประสิทธิภาพในการขับลดลง
ควรส่ายสายตาไปมา ไม่เพ่งอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความล้าทางสายตา จนเหม่อลอยและหลับในได้
หากรู้สึกอ่อนเพลีย ควรพักสายตาาด้วยการเหลือบมองไปทางกระจกมองข้างซ้าย-ขวา สลับกับการมองทางข้างหน้า จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัวได้ระดับหนึ่ง และเป็นการพักสายตาจากการเพ่งมองแต่ทางข้างหน้า
แต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอนจริง ๆ ควรจอดพักริมทางในจุดที่ปลอดภัยทั้งจากโจรผู้ร้ายและรถยนต์ที่ขับไปมา ไม่ควรฝืนร่างกายต่อไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้
ระวังจุดก่อสร้างให้ดี
ในช่วงกลางคืน บนเส้นทางธรรมดาโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มักมีการสร้างถนนหรือขุดเจาะ ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบเส้นทางการเดินรถจากปกติ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้าง ผู้ขับควรระวังในจุดนี้ เพราะอาจสร้างความสับสนจนเกิดอุบัติเหตุได้
นอกจากนั้น อีกจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ การกั้นช่องทาง เพราะบ่อยครั้งที่มักมีการปืดในบางช่องเพื่อการก่อสร้าง โดยไม่มีการเปิดสัญญาณไฟเตือนหรือปักป้ายบอกให้ผู้ขับทราบล่วงหน้าในระยะที่เพียงพอต่อการเตรียมตัว
อันตรายจากทุกสิ่งกีดขวาง
มีมากที่ผู้ขับต้องระมัดระวังในการขับกลางคืน เช่น
- การจอดรถยนต์ริมทางเดินเท้าในช่องทางซ้ายสุด ตามเส้นทางต่าง ๆ
- รถยนต์จอดเสียอยู่ข้างทาง เพราะบ่อยครั้งที่เจ้าของรถยนต์มักไม่นำป้ายสัญญาณมาบอกเตือนก่อนล่วงหน้า และที่แย่ไปกว่านั้น คือ มักไม่มีการเปิดไฟฉุกเฉิน ซึ่งที่เห็นบ่อยก็คือ บรรดารถประจำทางทั้งหลายที่มักนำแค่เบาะนั่งมาวางพาดกันชนหลัง โดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน
- ผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่มักไม่ชอบเปิดไฟหน้าหรือไม่มีไฟส่องสว่าง
- บ่อยครั้งที่อาจมีสุนัขหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น วิ่งตัดหน้า หากสุดวิสัยจริง ๆ คงต้อชน เพราะถ้าเบรกกระทันหันหรือหักหลบเราอาจเป็นอันตรายได้
เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ
ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com
All New Mazda 6 / Atenza อุ่นเครื่องก่อนเจอกันที่ปารีส
-
All New Mazda 6 / Atenza อุ่นเครื่องก่อนเจอกันที่ปารีส
มาสด้าสร้างกระแสความเคลื่อนไหวในตลาดรถยนต์ครอบครัว หรือกลุ่ม D-Segment
ระลอกใหม่เพื่อชะลดยอดขายคู่ปร...