เบื้องต้นข้อมูลรถใหม่ TOYOTA Mitsubishi Nissan Honda

โฆษณา Toyota Yaris Sedan ความคิดสร้างสรรค์ดีครับ

โฆษณา Toyota Yaris Sedan ความคิดสร้างสรรค์ดีครับ


โฆษณา Toyota Yaris Sedan ความคิดสร้างสรรค์ดีครับ

รวมวิธีขับรถให้ประหยัดน้ำมันที่สุด

วิธีขับรถให้ประหยัดน้ำมันที่สุด

90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงประหยัดน้ำมันจริงหรือ?
ถ้ามองรถที่ออกแบบเพื่อจำหน่ายในบ้านเราโดยเฉพาะจะพบว่ามีการเชื่อมโยงกับกฎหมายหรือความเร็วที่กำหนดคือรถจะถูกออกแบบมาให้ได้แรงส่วนใหญ่ของทั้งหมดออกมาใช้งานมากที่สุดในช่วงความเร็วดังกล่าวคือในช่วง 60-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าหันไปมองรถนำเข้าจากต่างปะเทศที่กฎหมายเขากำหนดความเร็วอื่นเช่น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าแรงที่นำออกมาใช้งานที่มากที่สุดและประหยัดที่สุดดังกล่าวก็จะไปอยู่ที่ช่วงความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นต้น ยิ่งยุคน้ำมันแพงนี้เรื่องการแข่งขันด้านความประหยัดกำลังรุนแรงถ้าท่านปรับเพิ่มข้อกำหนดความเร็วรถขึ้นมีรึที่บริษัทผู้ผลิตเขาจะไม่ออกแบบหรือผลิตตาม(ความจริงประเทศอื่นหลายๆประเทศเขาทำมานานแล้ว)

ที่มา : one2Car.com

..........................................

ขับรถถูกวิธี ประหยัดน้ำมัน

น้ำมันมีราคาเพิ่มขึ้นไม่ใช้น้อย เราท่านรู้สึกกันได้อย่างชัดเจน แต่รายได้ จะเพิ่มขึ้นเหมือนราคาน้ำมันที่ขึ้นเอา..ขึ้นเอา หรือเปล่า ? ….ใครตอบได้บ้าง !

ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ท่านประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. ควรมีการวางแผนเดินทางที่ดีหลีกเส้นทางที่มีจราจรติดขัด,ไม่ขับอ้อมจนมากเกินไป ไม่หลงทาง และไม่ขับเลยจากจุดหมายปลายทางเท่านี้ก็ลดการสูญเสียน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์ไปได้มากแล้ว

2. ตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศความดันลมยางเสมอ ๆ ยางที่มีลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้รถกินน้ำมันมากขึ้น และยางมีอายุการใช้งานสั้น ในขณะเดียวกันหากลมยางแข็งเกินไปรถอาจเกาะถนนไม่ดี และยางก็มีอายุการใช้งานสั้นเช่นกัน

3. ตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ ๆ เช่นปริมาณน้ำยาทำความเย็น ความสกปรกของคอล์ยเย็น ฯลฯ เพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะถ้าปรับอุณหภูมิให้เย็นจัดเกินไปก็เป็นภาระให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็มากขึ้นไปด้วย

4. วิธีขับรถให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
– ไม่เร่งเครื่องขณะรถจอดอยู่นิ่ง ๆ เพราะเป็นการใช้น้ำมันโดยเปล่าประโยชน์
– ออกรถอย่างราบเรียบ ไม่ใช่ออกตัวแบบรถแข่ง และเปลี่ยนเกียร์ที่สูงขึ้นเมื่อถึงรอบที่กำหนด อย่าลากเกียร์
– พยายามขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอ และไม่เหยียบเบรคโดยไม่จำเป็น
– เมื่อขับรถที่ความเร็วสูงขึ้น แรงต้านอากาศมีผลเป็นทวีคูณ ดังนั้นการขับรับรถเมื่อความเร็วสูงมาก ๆ รถก็จะกินน้ำมันมากขึ้นไปด้วย ตามปกติแล้ว ความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน มักจะอยู่ในช่วง 80 – 100 กม./ชม.(รถยนต์แต่ละคันมีความเร็วที่ประหยัดสุดไม่เท่ากัน)
– เมื่อไม่ได้เปลี่ยนเกียร์ ควรเอาเท้าออกจากคันเหยียบคลัทช์ เพราะนอกจากจะทำให้กินน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้คลัทช์มีอายุการใช้งานสั้นด้วย

5. ดูแลรักษาเครื่องยนต์อยู่เสมอ ๆ ด้วยการตรวจเช็คและเปลี่ยนอะไหล่ตามที่ผู้ผลิตกำหนด ความบกพร่องของเครื่องยนต์นอกจากจะเป็นผลให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นลงแล้ว ก็จะเป็นผลให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้นด้วย อาทิเช่น
– ไส้กรองอากาศตัน เพราะทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่มีประสิทธิภาพ
– น้ำมันหล่อลื่นเก่า ขาดคุณสมบัติการหล่อลื่น ฯลฯ
– ระบบระบายความร้อนบกพร่อง ทำให้เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานที่อุณหภูมิที่ผู้ผลิตออกแบบไว้
– หัวเทียนเสื่อมสภาพ ทำให้เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้สมบูรณ์
– รอบเครื่องยนต์เดินเบาสูงกว่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ทำให้เครื่องยนต์ทำงานมากขึ้นดดยไม่จำเป็น
– ปรับตั้งการจุดระเบิดไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้การเผาไหม่ของเชื้อเพลิงไม่มีประสิทธิภาพ

6. บรรทุกสัมภาระเท่าที่จำเป็น นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรด้วย เพราะถ้าบรรทุกของไม่จำเป็น 25 กก. และวิ่งไป 50 กม. จะเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 20 ซีซี

7. หลีกเหลี่ยงสถาพถนนที่ไม่ดี สภาพถนนที่ไม่ดีทำให้สูญเสียน้ำมันเพิ่มขึ้น ดังนี้ ราดยางที่มีผิวเสียหาย ร้อยละ 15 ลูกรัง ร้อยละ 35 ทรายแห้ง ร้อยละ 45

8. หลีกเหลี่ยงการใช้เบรกโดยไม่จำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน และอายุการใช้งานของเบรกสั้นลง

9. ปรับลมยางให้เหมาะสมตามมาตรฐาน ที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำ หากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้วจะสิ้นเปลืองน้ำมันร้อยละ 2

10. คาร์พูล (Car Pool) ทางเดียวกันไปด้วยกัน
– การเดินทางด้วยระบบคาร์พูลจะทำให้จำนวนรถยนต์ในถนนลดลง
– การจราจรดีขึ้น
– ใช้เวลาในการเดินทางลดลง
– คุณภาพอากาศบนถนนดีขึ้น
– ที่จอดรถมากขึ้น
– ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและบำรุงรักษารถยนต์ลดลง

11. ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการกินน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ แต่เท่าที่ได้กล่าวก็คือเป็นเรื่องหลัก ๆ ที่ท่านสามารถทำได้โดยไม่อยากเย็น และทำให้การใช้น้ำมันเป็นไปอย่างประหยัด

ที่มา ข้อมูลจาก :.ate.ac.th

.........................................................
10 บัญญัติ ประหยัดน้ำมัน
1. ขับรถไม่เกิน 90 ก.ม./ชม.
ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้
ทางธรรมดา 90 กม./ชม.
ทางด่วน 110 กม./ชม.
มอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม.


2. จอดรถไว้บ้าน โดยสารสาธารณะ
ถ้าผู้ใช้รถยนต์ร้อยละ 1 จากจำนวน 5 ล้านคัน หันมาใช้บริการรถสาธารณะ ด้วยระยะทาง 48 กม./วัน
ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะประหยัดน้ำมัน 52 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 780 ล้านบาท
3. ไม่ขับก็ดับเครื่อง
การติดเครื่องยนต์จอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที
สิ้นเปลืองน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์ 500 ซีซี
4. ทางเดียวกันไปด้วยกัน
ถ้าขับรถยนต์ 5 คัน ไปทางเดียวกัน ที่หมายใกล้กัน ระยะทาง 48 กม./คัน (ไป-กลับ)
ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 5,200 ลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 78,000 บาท
ถ้าร้อยละ 1 ของรถยนต์ 5 ล้านคัน ใช้ Car Pool สลับขับ 5 คน ต่อรถ 1 คัน
ใน 1 ปี จะประหยัดน้ำมันได้ 41.6 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 624 ล้านบาท
5. หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน
ถ้ารถติดเพียงร้อยละ 1 ของ จำนวนรถยนต์ 5 ล้านคัน ในวันทำงานทุกวัน และในบางเสาร์-อาทิตย์ ใน 1 ปี (330 วัน/ปี)
จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 12.4 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 186 ล้านบาท
6. ใช้โทรศัพท์-โทรสารเลี่ยงรถติด
ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เช่น ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน
หากเร่งด่วนก็ใช้วิธีส่งทางโทรสาร
หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน
หนังสือเวียนที่ไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-Mail หรือส่งไปรษณีย์


7. วางแผนก่อนเดินทาง
ถ้าไม่ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง และขับรถหลงทาง 10 นาที
จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 500 ซีซี คิดเป็นค่าน้ำมัน 7.50 บาท
ถ้ารถยนต์ 5 ล้านคัน ขับหลงทาง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ใน 1 ปี
จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 30 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 450 ล้านบาท
8. ลมยางต้องพอดี ไส้กรองต้องสะอาด
ความดันลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าขับทุกวันเฉลี่ยวันละ 48 กม. ใน 1 เดือน
รถยนต์ – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.4 ลิตร
รถจักรยานยนต์ – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2 ลิตร
รถบรรทุก – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.2 ลิตร
ถ้าร้อยละ 30 ของรถแต่ละประเภท ละเลยเช่นนี้บ่อยๆ รวมเป็น 30 วัน/ปี
จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 5.8 ล้านลิตร
คิดเป็นเงิน 87 ล้านบาท
ถ้าไส้กรองสะอาด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันวันละ 65 ซีซี
ควรทำความสะอาดทุก 2,500 กม.
ควรเปลี่ยนทุก 20,000 กม.
9. ไม่บรรทุกของเกินจำเป็น
หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็น ประมาณ 10 ก.ก. เป็นระยะทาง 25 ก.ม.
สิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี
ถ้าร้อยละ 10 ของรถยนต์ทั่วประเทศ 5 ล้านคัน ขับรถโดยบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น
ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 7.3 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 10.95 ล้านบาท
10. ตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นประจำ
เปลี่ยนไส้กรองตามกำหนด
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 5,000 กม.
ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในแบตเตอรี่
ตรวจสอบระดับน้ำป้อนหม้อน้ำ
ปรับปรุงสมรรถนะรถยนต์ให้ดีตลอดเวลา ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 3- 9


ที่มา : คู่มือรวมพลังหยุดรถซดน้ำมัน – PDF
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

......................................................
รู้จักวิธีประหยัดน้ำมันง่าย ๆ แค่ …12 วิธี
ข้อปฏิบัติ ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เติมน้ำมันหลัง 4 ทุ่ม หรือก่อน 9 โมงเช้าเสมอ : อุณหภูมิเย็นน้ำมันหดตัวจะได้ปริมาณเพิ่มขึ้น 2%
2.เติมน้ำมันแค่หัวจ่ายตัดพอแล้ว : ถ้าเติมจนเต็มปรี่ ร้อนๆ น้ำมันจะขยายตัวระเหยทิ้งที่รูระบาย
3.อุ่นเครื่องซัก 1 นาทีในหน้าร้อน และ 3 นาทีในหน้าหนาว : เครื่องจะได้ไม่ใช้กำลังฉุดมากและการหล่อลื่นจะสมบูรณ์ขึ้น
4.ค่อยๆ ออกตัวเมื่อรถจอดนิ่งที่ 1-2 พันรอบ : ได้ความนิ่มนวล ประหยัด และลดการสึกหรอของเครื่อง
5.ควรใช้เกียร์สูงขึ้นเมื่อรถวิ่งได้ 2,500 รอบขึ้นไป : การลากเกียร์จะทำให้ชุดเกียร์ทำงาน จนอายุการใช้งานจะสั้น
6.เครื่อง 2.0 CC ขึ้นไปความเร็วคงที่ๆ ประหยัดคือ 110 Km/h: รักษาเสถียรภาพความเร็วทำให้กินน้ำมันน้อยที่สุดขณะรถวิ่ง
7.เครื่องต่ำกว่า 1.6 CC ความเร็วคงที่ๆ ประหยัดคือ 90 Km/h : รักษาเสถียรภาพความเร็วทำให้กินน้ำมันน้อยที่สุดขณะรถวิ่ง
8.พักรถซัก 15 นาที เมื่อขับเกิน 4 ชม. เพื่อให้ความร้อนลด : ให้น้ำมันในระบบคลายความร้อนกลับมามีคุณสมบัติที่ดีอีกครั้ง
9.เกียร์ถอยกินน้ำมันมากสุด ควรค่อยๆ ถอย ไม่ต้องเร่ง : เกียร์ถอยใช้อัตราทดและใช้แรงฉุดมากกว่าทุกเกียร์
10.ก่อนถึงปลายทางซัก 500 ม. ให้ปิดแอร์ลดภาระเครื่อง : เป่าลมไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไล่เชื้อราที่สะสมอยู่ในความชื้นด้วย
11.เช็คลมยางให้สม่ำเสมอทุกๆ 2 อาทิตย์ : ลมยางอ่อนวิ่งได้ช้า+ขอบยางสึกมากยางหมดดอกก่อนกำหนด
12.เก็บสัมภาระหรือของหนักๆ ออกจากรถเพื่อลดน้ำหนัก : เพิ่มน้ำหนักรถทำให้รถกินน้ำมันเพิ่ม 20% ตามระยะทางที่วิ่ง

..................................................

25 วิธีประหยัดน้ำมัน


1. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายาง ที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
2.สับเปลี่ยนยางตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนดจะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก
3.ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนาน ๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมัน ฟรี ๆ 200 ซีซี
4.ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย
5.ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่า ๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร
6.ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เรียกกันติดปากว่า เบิ้ลเครื่อง การกระทำดังกล่าว10ครั้งสูญน้ำมันถึง50ซีซีปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง350 เมตร
7.ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดีจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10%
8.ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้า ๆ สัก 1-2 กม.แรก เครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง
9.ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูงขึ้น
10.ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน
11.เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลา
12.ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆทำงานอาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้างไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย
13.ก่อนไปพบใครควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์
14.สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดี จะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา
15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ต หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน
16.ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน
17หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน ไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน
18.ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า
19.ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราะการลากเกียร์ต่ำนาน ๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย
20.ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
21.ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
22. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน
23.สำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือก ตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั๊มน้ำมันใกล้บ้าน)
24.ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้า ๆ เปิดกระจกรับความเย็นจากลม ธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้ด้วย
25.ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นไม่เปิดแอร์แรง ๆ จนรู้สึก หนาวเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

ที่มา — 108 วิธีประหยัดพลังงาน … สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

...................................................
9 วิธีประหยัดน้ำมัน
สถานการณ์สงครามระหว่างอิรักกับสหรัฐฯ และพันธมิตร มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งขึ้นถึงระดับเกือบ 40 ดอลล่าร์ ต่อบาเรล รัฐบาลได้มีนโยบายตรึงราคาน้ำมันไว้ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาชดเชยราคาประมาณลิตรละ 3 บาท ซึ่งก็คือผู้ใช้น้ำมันเป็นหนี้กองทุนอยู่ เมื่อสถานการณ์เป็นปกติผู้ใช้น้ำมันก็ต้องผ่อนส่งเงินให้กับกองทุนหน ทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและประเทศก็คือการรู้จักประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำมัน ทั้งในวันนี้และวันหน้า โครงการรวมพลังหาร 2 ขอแนะนำ 9 วิธีประหยัดน้ำมัน “ลดพลังงาน เพิ่มพลังเงิน” ได้ดังนี้

1. ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด หากขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. แทนการขับรถด้วยความเร็ว 110 กม./ชม. จะประหยัดน้ำมันได้ 25% คิดเป็นเงิน 800 บาทต่อเดือนต่อคัน หรือ 9,600 บาทต่อปีต่อคัน ถ้ารถยนต์จำนวน 7 ล้านคันทั่วประเทศ ขับรถตามกฎหมายกำหนด ประเทศชาติจะประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 67,000 ล้านบาท ต่อปี

2. ตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ปีละ 1 ครั้ง สามารถประหยัดน้ำมันได้ 10% คิดเป็นเงินที่ ประชาชนประหยัดได้ 250 บาทต่อเดือนต่อคัน คิดเป็นจะประหยัดได้ถึงปีละ 3,000 บาท หากรถยนต์เบนซิน จำนวน 3 ล้านคันใน ประเทศไทย ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะช่วยชาติจะประหยัดเงินได้ 9,000 ล้านบาทต่อปี

3. เติมลมยางไม่ขาดไม่เกิน ตรวจเช็คความดันลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทุกๆระยะทาง 500 กิโลเมตร เพราะหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มร้อยละ 2

4. หมั่นทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หรือทุกๆ 2,500 กิโลเมตร เพราะถ้าไส้กรองไม่สะอาดแล้วจะทำให้รถยนต์กินน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

5. ไม่ขับก็ดับเครื่อง ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน เพราะการติดเครื่องยนต์จอดรถเป็นเวลาเพียง 10 นาที จะเสียน้ำมันไปฟรีๆ 200-400 ซีซี หรือเสียเงินราว 3.35-7.75 บาท

6. ไม่บรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น การบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้ว ยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรด้วย หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็น ประมาณ 10 กิโลกรัม เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี

7. บำรุงรักษาเครื่องยนต์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี โดยการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นเมื่อถึงกำหนด และตรวจสอบรอยรั่วในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง จะช่วยประหยัดน้ำมันประมาณร้อยละ 3-9

8. ทางเดียวกันไปด้วยกัน (คาร์พูล) ทางเดียวกันไปด้วยกัน หรือ “คาร์พูล” นอกจากจะทำให้จำนวนรถยนต์ในถนนลดลง การจราจรดีขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพอากาศบนถนนดีขึ้น และผลผลอยได้สุดท้ายคือค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและบำรุงรักษารถยนต์ลดลงอีกด้วย

9. จอดรถไว้บ้าน การจอดรถไว้ที่บ้าน เมื่อต้องการเดินทางก็ใช้บริการขนส่งสาธารณะซึ่งปัจจุบันก็สะดวกสบายขึ้นมาก หรือจะอยู่ที่บ้านโดยใช้การติดต่อทางโทรศัพท์ โทรสาร และอินเตอร์เน็ตแทน ก็เป็นหนทางหนึ่งในการลดการใช้น้ำมันของตนเองและของประเทศได้

บทความจาก http://www.eppo.go.th

..............................................
วิธีประหยัดน้ำมัน
ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายาง ที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
สับเปลี่ยนยางตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนดจะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก
ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนาน ๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมัน ฟรี ๆ 200 ซีซี
ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย
ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่า ๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร
ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เรียกกันติดปากว่า เบิ้ลเครื่อง การกระทำดังกล่าว10ครั้งสูญน้ำมันถึง50ซีซีปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง350 เมตร
ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดีจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10%

ความเร็วเท่าไรจึงขับรถปลอดภัย!!

ความเร็วเท่าไรจึงขับรถปลอดภัย!!
เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ควรขับรถด้วยความเร็วตามกฎหมายกำหนด…….

บนทางหลวง ในเขตเทศบาล
รถเก๋งหรือรถปิกอัพ ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 60 กม./ชม.

บนทางหลวง นอกเขตเทศบาล
ให้รถเก๋งหรือปิกอัพ ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 80 กม./ชม. และ

บนมอเตอร์เวย์
รถเก๋งหรือปิกอัพ ไม่เกิน 120 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 100 กม./ชม.

ทั้งนี้ในเชิงเทคนิค ได้รับการพิสูจน์และยืนยันจากทั่วโลก การขับขี่รถที่ ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. นอกจากช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 15-20% ยังช่วยลดการตายบนถนนได้ 12-24% แต่ความเร็วดังกล่าว ไม่สามารถลดอุบัติเหตุได้ หากทุกคนประมาท เมามายขณะขับรถ และการไม่ร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมาย

ข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลและสำนักงานนโยบาย

90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหมาะสมจริงหรือ?

90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหมาะสมจริงหรือ?
.นานมากแล้วที่กฎหมายบ้านเรากำหนดความเร็วบังคับไว้ที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้ต่อมาบนทางด่วนพิเศษ(เสียตังค์)จะเพิ่มเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว แต่ถ้ามองย้อนเรื่องความเป็นจริงแล้วมันเหมาะสมหรือเปล่าที่ถนนหลวงโดยทั่วไปที่สร้างจากเงินภาษีของประชาชนยังบังคับให้แค่ไม่เกิน 90กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในอดีต



เมื่อก่อนโน้นรถยนต์ส่วนมากค่าความจุของกระบอกสูบยังไม่สูงมากส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในช่วง 1000-1300ซีซี สำหรับเบนซิน หรือไม่เกิน 2200ซีซีสำหรับดีเซล กอปรกับความแรงหรือสมรรถนะของรถก็ยังไม่สูงมาก จำนวนรถก็มีน้อย ถนนหนทางก็โล่งถึงแม้จะเป็นเลนที่วิ่งสวนกันก็ตาม การกำหนดค่าความเร็วที่ไม่เกิน 90กิโลเมตรต่อชั่วโมงจึงถือว่าเหมาะสมดีแล้ว
ปัจจุบัน
แม้จะยังมีถนนแบบวิ่งสวนกันอยู่แต่ถนนสายหลักๆหรือถนนส่วนมากนั้นเป็นสี่เลนหรือมากกว่านั้นกันหมดแล้ว และสมรรถนะของรถหรือระบบความปลอดภัยของรถหรือความแรงของรถหรือความจุของกระบอกสูบของรถก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

ที่มา : one2Car.com

ระบบเบรก ABS ทำงานอย่างไร

ระบบเบรก ABS ทำงานอย่างไร
หลาย ๆ คนก็คงเคยได้รู้จัก ได้ยินคนพูดถึง หรือได้ใช้เบรก ABS กันมาแล้ว ซึ่งก็คงเข้าใจว่าเบรก ABS ช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้มากขึ้นอย่างไร แต่ก็มีหลายท่านที่อาจยังไม่เข้าใจ ผม Mr. Krisda มีความยินดีที่จะเล่าให้คุณฟังตอนนี้เลยหละครับ



เบรก ABS ทำงานโดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการหมุน ของล้อทั้ง 4 ในเวลาที่ผู้ขับขี่เหยียบเบรก เซนเซอร์ทั้ง 4 ล้อ จะคอยจับสัญญาณที่ล้อว่าล้อข้างใดล็อค หรือมีการหมุนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจทำให้รถเสียหลักได้ เซนเซอร์จะทำงานด้วยความเร็วสูงมากๆโดยจะมีจังหวะ “ปล่อย” คือเซ็นเซอร์จะส่งน้ำมันไปที่ล้อนั้นน้อยลงเพื่อให้ล้อนั้นมีการหมุน และจังหวะ “จับ” คือจังหวะที่ส่งน้ำมันเบรกไปที่ล้อนั้นอีกครั้งหนึ่ง เบรกจะทำการ”จับ” และ “ปล่อย” ด้วยความเร็วสูง เกือบร้อยครั้งต่อวินาที ดังนั้นล้อจะไม่ล็อคตาย และผู้ขับขี่สามารถหักหลบสิ่งกีดขวางหรือรถคันหน้าได้ โดยไม่เสียการทรงตัว ทำให้สามารถเบรกได้ในทุกสภาพถนน

เบรก ABS จะทำงานได้ผู้ขับขี่ต้องเหยียบแป้นเบรกด้วยความแรงพอสมควร เหยียบแช่ค้างเอาไว้ โดยจะได้ยินเสียงการทำงานของเบรก ABS ค่อนข้างดังครับ เป็นเรื่องปกติไม่ต้องตกใจครับ

รถยนต์ของ Mitsubishi ที่มีเบรก ABS ในตอนนี้ได้แก่ Pajero, Outlander, New Lancer(1.6 Ltd.,2.0) , G-Wagon, Strada และ G-Cab บางรุ่น ครับ

จะเห็นได้ว่ารถยนต์มิตซูบิชิมีอุปกรณ์ที่ครบครันทั้งด้านอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยนะครับ ซึ่งจะเอามานำเสนอต่อ ๆ ไป และถ้าเทียบราคาต่ออรรถประโยชน์แล้ว รถยนต์มิตซูบิชินี่แหละครับที่คุ้มค่าเป็นที่สุด และถ้าคิดจะซื้อมิตซู ก็อย่าลืมมาดูที่กฤษฎานะครับ อิอิ

ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของราคาอะไหล่ของมิตซูบิชิเมื่อเทียบกับราคาอะไหล่ของยี่ห้ออื่น ๆ เร็ว ๆ นี้ครับ ถ้าสนใจก็อย่าลืมแวะมาดูกันนะครับ

ที่มา : mitsukrisda.com

15 คำถามเกี่ยวกับถุงลมนิรภัย

15 คำถามเกี่ยวกับถุงลมนิรภัย

ส่วนหนึ่งของคำถามที่น่าสนใจ และไดรับคำตอบจาก NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration) ที่จะทำให้มีความเข้าใจถึงการใช้งานถุงลมนิรภัยอย่างไรให้ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น
1. รถยนต์ใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคัน ต้องมีถุงลมนิรภัยหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลือกซื้อรถยนต์ที่ไม่ติดตั้งถุงลมนิรภัยตั้งแต่ปี 1998 กฎหมายกำหนดให้รถยนต์นั่งทุกคันที่จำหน่ายในอเมริกาต้องมีถุงลมนิรภัยด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และมีผลต่อรถบรรทุกเล็กทุกคันในปี 1999

2. ตามที่ NHTSA กำหนดให้มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยแบบลดความแรง (Depowered Airbag) ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะสามารถเปลี่ยนถุงลมนิรภัยที่ใช้อยู่ในรุ่นปัจจุบัน เป็นถุงลมนิรภัยชนิดใหม่ได้หรือไม่มาตรฐานใหม่นี้ เพื่อลดความรุนแรงในการพองตัวลง 25-30%จากปัจจุบัน และจะบังคับใช้กับรถยนต์ที่ผลิตออกมาใหม่ ไม่ครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ผลิตออกไปแล้ว

3. สามารถติดตั้ง เบาะสำหรับเด็ก แบบหันหน้าไปท้ายรถยนต์ ในที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่ไม่โดยเด็ดขาด เว้นแต่จะมีสวิตช์ตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสารโดยเฉพาะ และได้ตัดการทำงานไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่า ที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 12 ปีลงมา คือ เบาะหลัง

4. ถ้าเช่นนั้น เบาะสำหรับเด็กที่ติดตั้งแบบธรรมดา จะสามารถติดตั้งในเบาะผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่NHTSA แนะนำว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีทุกคน ควรโดยสารในเบาะด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าไม่มีทางเลือก และต้องการนำมานั่งในเบาะด้านหน้าจริง ๆ ต้องจัดให้เด็กนั่งโดยมีอุปกรณ์นิรภัยคาดไว้กับลำตัวอย่างถูกต้อง และเลื่อนเบาะไปด้านหลังเพื่อให้เด็กอยู่ห่างจากถุงลมนิรภัยให้มากที่สุด

5. ในกรณีเด็กโตที่ไม่จำเป็นต้องใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กแล้ว จะให้เด็กนั่งในเบาะด้านหน้าของรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยได้หรือไม่ จะมีอันตรายหรือเปล่าถ้าถุงลมนิรภัยทำงานขึ้นมาอย่างที่บอกไปแล้วว่า เด็กควรโดยสารในเบาะหลัง เว้นแต่กรณีที่จำเป็นต้องให้นั่งด้านหน้าจริง ๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น และขอเพิ่มเติมว่า เด็กต้องนั่งพิงพนักพิงอยู่เสมอ ระวังอย่าให้เด็กโน้มตัวมาด้านหน้าบ่อย ๆ และระวังไม่ให้เข็มขัดนิรภัยหย่อนจนเกินไป ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า บางครั้งยากที่จะควบคุมเด็กให้อยู่นิ่งได้

6. NHTSA ใช้เกณฑ์อะไรที่กำหนดว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีควรจะนั่งในเบาะหลัง และจะพิจารณาจากความสูงหรือน้ำหนักตัวของเด็กได้หรือไม่สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสาร NHTSA พิจารณาจากอุบัติเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากเด็กถูกกระแทกโดยถุงลมนิรภัย จากหลักฐานจริง ๆ แล้วพบว่า ไม่มีเด็กอายุเกินกว่า 9 ปีเสียชีวิตจากกรณีนี้ ส่วนการจะกำหนดโดยส่วนสูงหรือน้ำหนักตัวนั้นคงไม่สามารถจะทำได้ เพราะรถยนต์แต่ละรุ่นจะมีความรุนแรงในการทำงานของถุงลมนิรภัยต่างกันออกไป จึงยากที่จะสรุปเป็นมาตรฐานเดียวกัน

7. สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเตี้ย และจำเป็นต้องนั่งใกล้พวงมาลัย จะมีวิธีการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยได้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องย้ำว่า ผู้ขับที่ได้รับการปกป้องจากถุงลมนิรภัยมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ที่เสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยมากนัก และที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่ใส่เข็มขัดนิรภัยผู้ขับ และผู้โดยสารที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และนั่งให้ห่างจากพวงมาลัยมากที่สุดเท่าที่ยังสามารถควบคุมรถยนต์ได้โดยสะดวก ในกรณีที่ผู้ขับมีรูปร่างเตี้ยก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน อาจจะใช้การเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเพิ่มระยะห่างจากหน้าอกถึงพวงมาลัย นอกจากนั้น แขนที่ควบคุมพวงมาลัยจะอยู่ด้านข้างของพวงมาลัยทั้ง 2 ด้าน ไม่ใช่พาดขวางอยู่ระหว่างคนขับกับพวงมาลัย เพื่อให้ถุงลมนิรภัยมีพื้นที่ และระยะในการพองตัวมากที่สุด และหลีกเลี่ยงโอกาสที่แขนจะได้รับบาดเจ็บรุนแรง

8. ผู้ที่มีส่วนสูง และน้ำหนักเท่าไร ที่จัดว่าเสี่ยงต่ออันตรายจากถุงลมนิรภัยไม่มีการระบุชัดเจนในประเด็นนี้ ขอให้พึงระวังไว้ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะชี้ถึงอัตราเสี่ยงจากถุงลมนิรภัยที่พองตัวอย่างรวดเร็ว คือ ระยะห่างระหว่างตัวคุณกับถุงลมนิรภัยนั่นเอง

9. ถ้าอย่างนั้น ระยะห่างขนาดไหนที่เข้าข่ายว่าค่อนข้างปลอดภัยไม่มีระยะที่แน่นอน เพราะถุงลมนิรภัยในรถยนต์แต่ละรุ่นมีความรุนแรงในการพองตัวต่างกัน ยิ่งห่างโดยยังควบคุมรถยนต์ได้ด้วยดีก็ยิ่งปลอดภัย (มีการชี้แจงภายหลังว่า อย่างน้อย ระยะห่างจากผู้ขับถึงพวงมาลัยต้องมากกว่า 10 นิ้วขึ้นไป)

10. สำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่จะปลอดภัยหรือไม่ หากจะนั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยด้วยปลอดภัยแน่นอน แค่ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ เลื่อนเบาะไปด้านหลังมาก ๆ อาจเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อย ระวังอย่าให้สายเข็มขัดนิรภัยหย่อน

11. แล้วสำหรับคนแก่ จะเป็นอันตรายหรือไม่ถ้านั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยในกรณีผู้สูงอายุก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อที่แล้ว

12. ผู้ที่ตั้งครรภ์ จะปลอดภัยหรือไม่ที่จะต้องนั่งอยู่หน้าถุงลมนิรภัยในขณะนี้ NHTSA กำลังรวบรวมผลการพองตัวของถุงลมนิรภัยต่อผู้ตั้งครรภ์อยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ ยังแนะนำผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ ให้สายรัดไหล่พาดผ่านกระดูกไหปลาร้า สายรัดเอวพาดใต้หน้าท้องให้ต่ำที่สุดผ่านบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ไม่ควรพาดบนหน้าท้องโดยเด็ดขาด และให้นั่งห่างจากถุงลมนิรภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

13. เข็มขัดนิรภัย แบบ Pretensioner และ Tensioner คืออะไร และจะช่วยปกป้องในกรณีเกิดอุบัติเหตุได้ดีเพียงใดเข็มขัดนิรภัยทั้ง 2 แบบจะดึงรั้งตัวมาด้านหลังโดยอัตโนมัติเวลาที่เกิดการชนกันขึ้น มีการติดตั้งในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ และเมื่อใดที่เข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ทำงานขึ้นมา ต้องถอดเปลี่ยนใหม่

14. ในรถยนต์ที่มีพวงมาลัยชนิดที่ปรับความสูงต่ำได้ ควรปรับเปลี่ยนไว้ที่ตำแหน่งใดที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด และคนขับเสี่ยงต่อการบาดเจ็บน้อยที่สุดควรจะตั้งให้ต่ำลง เพื่อให้ถุงลมนิรภัยพุ่งมาที่หน้าอกขณะที่พองตัว ไม่ใช่พุ่งเข้าใส่ศรีษะ และใบหน้า แต่สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องระวังอย่าให้ต่ำเกินไป ไม่นั้นจะพุ่งมากระแทกท้องได้

15. แล้วพวงมาลัยที่ปรับให้ชิดหรือห่างตัวได้ควรปรับอย่างไรปรับให้ระยะพอเหมาะในการขับ โดยห่างจากตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
15 คำถามเกี่ยวกับถุงลมนิรภัย

ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เกร็ดควรรู้เกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

เกร็ดควรรู้เกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง
คุณประโยชน์ของฟิล์มกรองแสงที่เราทุกคนทราบแน่นอนก็คือ ติดแล้วช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้ามาในตัวรถ สิ่งนี้ไม่ใช่การป้องกัน เพราะโดยหลักของการคิดค้นฟิล์มกรองแสงขึ้นนั้น ฟิล์มกรองแสงต้องเป็นวัสดุที่ใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

วัสดุที่นำมาผลิตฟิล์มกรองแสง เป็นแผ่นโพลีเอสเตอร์ ที่มีคุณสมบัติทั้งเรื่องทนความร้อน ทนทาน ดูดซับความชื้นน้อย ยืดหยุ่นสูง นำมาเคลือบด้วยชั้นฟิล์ม ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสี กาว โลหะ สารกันลอยขีดข่วน สารดูซับรังสียูวี

ชั้นฟิล์มที่นำมาเคลือบนี่แหล่ะ จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ และคุณภาพของฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิด แต่โดยหลัก ๆ แล้ว สิ่งที่เราได้ประโยชน์จากฟิล์มกรองแสงก็คือ

- ช่วยลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีจากแสงอาทิตย์

- ในอดีตหรือแม้ปัจจุบันที่มีกฎหมายกำหนดความทึบของฟิล์ม เราจะพบว่า การติดฟิล์มทึบๆ สามารถสร้างความเป็นส่วนตัวได้ในบางครั้ง

- แสงที่ผ่านเข้าห้องโดยสารลดลง ทำให้มุมมองของสายตาดีขึ้น

- การลดความร้อนที่ผ่านเข้ามายังห้องโดยสาร ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักเกินความจำเป็น สิ่งนี้ยังเป็นผลสะท้อนไปถึงการลดภาระของการทำงานของเครื่องยนต์ด้วย

- ความร้อนและแสงยูวีที่ผ่านเข้ามาลดลง ช่วยยึดอายุวัสดุและอุปกรณ์ภายในรถ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก และหนัง

- ในบางครั้ง ฟิล์มกรองแสงยังเป็นตัวยึดเหนี่ยวกระจกไม่ให้แตกกระจาย ขณะเกิดการชน

เราเห็นแล้วว่า คุณประโยชน์ของฟิล์มกรองแสงนอกจาก ทางตรงคือ ลดความร้อนและป้องกันแสงยูวีแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมอีกหลายประการ แต่ทั้งนี้ ศักยภาพในการทำงานของฟิล์มกรองแสงยังขึ้นกับคุณภาพของฟิล์มกรองแสงรวมถึงการติดตั้งด้วย

การเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพ หลักการที่งายที่สุดก็คือ การเลือกซื้อและติดตั้งฟิล์มกรองแสงจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง มีมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการรับรอง มีใบรับประกันคุณภาพที่ชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้ว การปรับประกันฟิล์มกรองแสงจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี

การเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงชื่อดัง ยี่ห้อที่มีความชำนาญด้านนี้จริง ๆ คงไม่ใช่เรื่องยากมากนัก แต่ปัญหามักจะอยู่ที่การติดตั้ง เพราะการจำหน่ายและการติดตั้งฟิล์มกรองแสงมักจะอยู่ในรูปแบบของตัวแทนจำหน่าย ที่มีเป็นจำนวนมากทั้งตัวแทนจริง ๆ และร้านค้าที่เปิดให้บริการอิสระ หากเราต้องการทราบให้ชัดเจนว่า ฟิล์มกรองแสงที่ทางร้านค้าจะมาติดตั้งให้เรานั้นเป็นของจริงหรือไม่ ก็สามารถให้ทางร้านค้าอธิบายถึงตราสินค้าบนไลเนอร์ได้ ถือว่าไม่เป็นการผิดกติกา

สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ หลังการติดตั้งฟิล์มกรองแสง เราต้องได้รับเอกสาร 3 ตัว นั่นก็คือ

บัตรลงทะเบียนใบรับประกันคุณภาพ
ก็เหมือนเราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าน่ะแหล่ะครับ โดยเอกสารนี้จะมี 3 ส่วน ส่วนหนึ่งร้านค้าจะเก็บไว้ อีกส่วนให้ลูกค้าเก็บ และอีกส่วนเป็นใบให้เรากรอกเพื่อส่งกลับไปยังผู้ผลิต ส่วนใหญ่ใบที่เราต้องกรอกส่งให้ผู้ผลิตจะต้องทำภายใน 15 วัน

ใบรับรองการติดตั้งฟิล์มกรองแสงรถยนต์
ใบนี้สำคัญนะครับ ไม่ใช่แค่บอกว่ารถเราติดฟิล์มแล้ว เพราะเรื่องนี้มองดูก็รู้ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีการกฎหมายให้ติดฟิล์มกรองแสงที่แสงต้องรอดผ่านได้ 40% เกิดจับพัดจับผู ถูกเรียกตรวจจะได้มีใบนี้ยืนยัน

เพื่อความสบายใจ เราสามารถให้ทางร้านค้าทดสอบการผ่านของแสงได้ อย่าให้ทางร้านทดสอบโดยผ่านฟิล์มเพียงอย่างเดียว ควรทดสอบหลังจากมีการติดตั้งฟิล์มเรียบร้อยแล้ว เพราะตัวกระจกรถเองมีการลดทอนแสงและหักเหของแสงบางส่วนอยู่แล้ว ตามกฎหมายกำหนดชัดเจนนะครับว่า แสงที่ผ่าน 40% เป็นแสงที่วัดผ่านกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสง และสิ่งที่ควรจำอีกประการหนึ่งก็คือ อย่าใช้หรือเชื่อกับวิธีทดสอบที่เอาไฟสปอร์ตไลท์มาจ่อกับฟิล์มให้ดู นอกจากไม่ได้อะไรแล้ว เพราะบอกตัวเลขอะไรไม่ได้ ความร้อนของสปอร์ตไลท์ยังจะทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นอีกด้วย

ใบรับประกันคุณภาพ
เป็นใบที่เราจะได้รับหลังจากส่งใบที่เรากรอกกลับไปยังผู้ผลิตประมาณ 1 เดือน เป็นใบรับประกันคุณภาพที่ออกโดยผู้ผลิตนั่นเอง
สำหรับในเรื่องราคาของฟิล์มกรองแสงนั้น ไม่ต่างไปจากเรื่องของราคายางรถยนต์ เพราะฟิล์มกรองแสงมีหลายคุณลักษณะมาก ขึ้นอยู่กับฟิล์มที่นำมาเคลือบว่าประกอบด้วยสารอะไรบ้าง ยิ่งฟิล์มคุณภาพสูง ๆ ประเภท ใสแจ๋วเลย แสงผ่านได้มาก แต่กลับลดความร้อนได้สูง ก็จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มประเภททึบ ๆ ทึม ๆ แต่ผ่านตามกฎหมายกำหนด ก็อยู่ที่เราเดินเข้าไปในร้านค้าและเลือกหาเอาล่ะครับ ว่าเราจะยอมจ่ายมากน้อยแค่ไหน และส่วนใหญ่ค่าบริการติดตั้งจะคิดแยกออกมาต่างหาก

คุณภาพและการรักษา
การหมดอายุใช้งานของฟิล์มกรองแสงก่อนกำหนด บ่อยครั้งเกิดจากคุณภาพในการติดตั้งที่ต่ำหรือผิดวิธี และหลาย ๆ ครั้งเกิดจากการไม่เอาใจใส่ดูแลของเจ้าของรถหรือดูแลอย่างผิดวิธี…เรามาเรียนรู้ในการที่จะสังเกตคุณภาพการติดตั้งและการบำรุงรักษากัน
การเลือกฟิล์มกรองแสงดูจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นเท่าไร เนื่องด้วยวิธีการตรวจสอบฟิล์มคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่การหาร้านค้าที่มีช่างผู้ชำนาญพร้อมที่จะติดตั้งฟิล์มกรองแสงให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพกลับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่า

ปัญหาใหญ่ก็คือ เราจะทราบกันได้อย่างไรว่า รถของเราได้รับการติดตั้งฟิล์มกรองแสงโดยวิธีที่ไม่ถูกต้องและไม่มีคุณภาพเอาเสียเลย

1. โดยความเป็นจริงเราไม่สามารถทราบได้เลยว่า วัสดุที่ช่างนำมาติดตั้งให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดต่อคุณภาพ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือ การใช้สายตาสังเกตดูฟองอากาศ คราบน้ำขัง ฝ้า คราบมัว หรือภาพที่บิดเบือนมาก

2. เดินดูกระจกรอบรถทุกบานเพื่อดูว่ามีการบิดเบือนของภาพมากน้อยเพียงใด และยอมเสียเวลาอีกนิดเข้าไปในรถเพื่อดูออกมาข้างนอกอีกครั้งหนึ่ง

3. แน่นอนว่า การติดตั้งฟิล์มกรองแสง ไม่ได้กระทำกันในห้องปราศจากฝุ่น และสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่าในระยะ 5 เซนติเมตรจากขอบมีอะไรบ้างและติดมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่มากก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

4. เราสามารถสังเกตอะไรได้บ้าง ก็ดูกันหมดล่ะครับ ตั้งแต่เศษผง แมลง เส้นผม ขอบฟิล์มล่อน ลอยนิ้วมือ รอบขีดข่วน รอบฉีก รอยหัก ดูให้หมด อย่าให้มากจนน่าเกลียด

5. ปกติแล้ว การติดตั้งฟิล์ม จุดที่เริ่มติดฟิล์มไม่ควรจะห่างจากบริเวณขอบเกิน 1-4 มม. แต่ถ้าหากเป็นฟิล์มเข้มไม่ควรจะห่างเกิน 2 มม.

6. การตรวจตราลอยต่อของฟิล์มกรองแสง ปกติในส่วนที่ความโค้งมาก ๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นต้องมีรอยต่อของฟิล์มแน่นอน แต่หากสังเกตเห็นพบว่าบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมีรอยต่อแต่กลับมีขึ้นมา ก็คงต้องซักถามกับช่างและให้แก้ไข

7. หลังจากติดตั้งไป 1-7 วัน อาการอย่างพวกฟองอากาศไม่หาย ก็ให้รีบกับไปที่ร้านค้าเพื่อทำการแก้ไขทันที

การติดตั้งฟิล์มไม่มีความยุ่งยาก แต่ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน ปกติการติดตั้งจะต้องใช้น้ำผสมแชมพูแบบอ่อน ๆ ฉีดไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้ง ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงค่อยรีดน้ำออกด้วยเครื่องมือ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้ เป็นที่มาของน้ำขัง อาการมัว หรือเป็นฝ้า โดยทั่วไป 1-4 สัปดาห์ก็จะหาย

ในช่วง 1-2 สัปดาห์ จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะกาวยังไม่แห้งและฟิล์มยังไม่แนบกับผิวของกระจก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกระจกในลักษณะเสียดสีรุนแรงมากเกินไป หากรถคุณเป็นกระจกไฟฟ้า ให้ล็อกปุ่มเลื่อนขึ้นลงของผู้นั่งร่วมทางทุกบาน รวมถึงปุ่มปรับเลื่อนกระจกไฟฟ้าด้านคนขับเองก็ควรหาสัญลักษณ์หรือกระดาษมาปิดไว้กันการลืมไปเลื่อนเปิดปิดกระจกโดยไม่ตั้งใจ ฟิล์มกรองแสงอาจลอกหลุดได้

แต่ก็ใช่ว่าเราจะแตะต้องไม่ได้เลย เพียงแต่เราต้องหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ค่อนข้างแข็งหรือใช้น้ำเช็ดล้างกระจกด้านโดยตรง ควรหาอุปกรณ์ที่อุ่นนุ่มเช่นฟองน้ำชุบน้ำและเช็ดอย่างแผ่วเบา และจำไว้ว่าห้ามใช้น้ำยาล้างที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียเป็นเด็ดขาด เพราะจะมีปฏิกิริยากับฟิล์มโดยตรง
ข้อควรจำในการใช้งานฟิล์มกรองแสงให้มีอายุยาวนานขึ้นก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่แข็งขีดข่วนกับฟิล์มโดยตรง เพราะแม้ว่าฟิล์มกรองแสงจะผลิตขึ้นจากวัสดุที่ทนต่อการขีดข่วน แต่หากกระทบรุนแรงเกินไปก็หลุดลอกได้ คงไม่มีใครอยากให้กระจกรอบคันเป็นรอยกันสักเท่าไร เพราะนอกจากไม่สวยงามแล้ว ยังทำให้มุมมองของผู้ขับลดลงอีกด้วย


ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี

เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี
เครื่องยนต์อันเป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนของรถยนต์ทุกคัน ชิ้นส่วนที่จะต้องทำงานอยู่ทุกวินาที ย่อมมีการศึกหรออย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่ารถคันใดจะใหม่หรือเก่า ก็หนีไม่พ้นการหมดอายุ การใช้งานของเครื่องยนต์ ปัญหาที่จะต้องพบก็คือ จะทำอย่างไร ให้รถกลับไปมีเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์อย่างคุ้มค่าเงินที่สุด และมี 2 ทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ คือ การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า และเปลี่ยนเครื่องยนต์(ใช้แล้ว)ตัวใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ทางเลือก ต่างมีข้อดีและข้อเสียที่แตกตางกันออกไป
· การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)
ภาษาชาวบ้าเรียกว่า “ฟิตเครื่อง” เป็นทางเลือกที่อู่ซ่อมรถชอบและแนะนำให้ลูกค้าเลือกวิธีนี้ เพราะการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะต้องมีการรื้อชิ้นส่วน เพื่อวิเคราะห์การสึกหรอ และตัดสินใจเลือกเปลี่ยนอะไหล่ใหม่การที่เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่มอบหมายให้อู่หาซื้ออะไหล่ให้นั้น เป็นการเปิดทางให้อู่สามารถ “บวกราคาอะไหล่” หรือ ซื้ออะไหล่ของเทียม แต่เก็บเงินในราคาอะไหล่แท้อย่าคิดจะจับผิดในจุดนี้ เพราะอู่ซ่อมรถส่วนใหญ่มักจะสนิทสนมกับร้านอะไหล่จนเป็นปกติ จะให้ลงราคาในใบเสร็จเท่าไรก็ได้ บางครั้งไม่ได้เปลี่ยน แต่มีรายการอะไหล่อยู่ในใบเสร็จก็ยังมี และอย่าคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้โดยเลือกซื้ออะไหล่เอง อู่บริการจะมีข้อแม้ว่า เจ้าของรถไม่ชำนาญพอ และอาจทำให้งานลาช้า ถ้าซื้ออะไหล่มาไม่ครบหรือซื้อผิดรุ่นการบวกราคาค่าอะไหล่ในใบเสร็จร้านอะไหล่บางครั้งไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย เพราะบางแห่งบวกกันกว่า 50-100% เรื่องอย่างนี้อยู่ที่จรรยาบรรณนอกจากอู่ซ่อมรถจะได้กำไรจากการบวกราคาค่าอะไหล่ ยังมีการบวกคาใช้จ่ายในส่วนของ “โรงกลึง” อีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ท้ายสุด ยังได้ค่าแรงรื้อประกอบอีก 2,000-3,000 บาท (ค่าแรงเปลี่ยนเครื่องเพียง 1,000-1,500 บาทเท่านั้น)การเลือกวิธีซ่อมเครื่องเก่า จะต้องเสียเวลาประมาณ 3-7 วัน กับค่าใช้จ่ายสูงลิบ และยากแก่การควบคุม เพราะจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักการ “ฟัน” ของอู่ อีกทั้งยังต้องลุ้นกับฝีมือช่างอีกด้วยภาพการสึกหรอของเครื่องยนต์ จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกที่ดี ขีดจำกัดอยู่ที่ “การสึกหรอของกระบอกสูบและชาฟท์(แบริ่ง)”
ถ้ากระบอกสูบมีการสึกหรอจนไม่สามารถใช้ลูกสูบชุดเดิมได้ การกลึงคว้านเพื่อเปลี่ยนลูกสูบใหญ่ขึ้น หมายถึงค่าใช้จ่าย…โรงกลึง, ลูกสูบ และแหวนลูกสูบ ฯลฯการคว้านกระบอกสูบในภายหลังนี้ จะไม่มีการ “ชุบแข็ง” ที่ผิวกระบอกสูบเดิมที่ถูกคว้านออกไปที่มีการชุมแข็งจากโรงงานผู้ผลิตผิวกระบอกสูบที่ไม่ได้ชุบแข็ง จะมีอัตราการสึกหรอมากกว่ามาตรฐาน เครื่องยนต์จะมีอายุการใช้งานสั้นลง และไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปการเลือกวิธีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อเป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้อยและมีราคาสูง แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ

อีกประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และวาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่าในเชียงกง

สิ่งที่ควรระวังก็คือ อู่บริการส่วนใหญ่ มักจะประเมินราคาค่าซ่อมขั้นต้นไว้ เพื่อจูงใจให้เลือกวิธีซ่อมเครื่องยนต์เก่า แต่เมื่อลงมือไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะบานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยข้ออ้างที่ว่า “ทำครั้งเดียวทำดี ๆ ไปเลย” ซึ่งถึงเวลานั้นก็คงกลับตัวกันไม่ทัน เพราะเครื่องก็ถูกรื้อออกมาแล้ว อย่างไรก็ต้องทำให้เสร็จ

· การเปลี่ยนเครื่องยนต์
ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ใช้แล้วของรถญี่ปุ่น มีให้เลือกซื้ออย่างแพร่หลายในราคาที่น่าสนใจ โดยแหล่งใหญ่อยู่บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ แถว ๆ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในชื่อเรียกว่า “เชียงกง”

แหล่งรองลงมาอยู่ที่สี่แยกหลักสี่ในชื่อเรียก “เชียงกงหลักสี่” นอกจากนั้น ยังมีร้านเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามตึกแถวทั่วกรุงเทพฯ

เครื่องยนต์ที่ถูกนำเข้ามา จะเป็นเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วทั้งสิ้น ถูกถอดออกมาจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งในป่าช้ารถในประเทศญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นมักใช้รถกันเพียง 3-5 ปี เพราะในญี่ปุ่นรถมีราคาถูก แต่ค่าซ่อมแพง ถ้าใครทนใช้เกินระยะเวลานี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การต่อทะเบียน ตรวจสภาพ ประกันภัย ฯลฯ จนทางเลือกในการซื้อรถใหม่เป็นทางที่คุ้มค่ากว่า

การใช้งานในระยะเวลา 3-5 ปี มิได้หมายความว่ารถยนต์จะผ่านการใช้งานอย่างหฤโหดเป็นแสน ๆ กิโลเมตรแบบคนไทย เพราะระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม คนญี่ปุ่นหลายคน จึงใช้รถยนต์แค่วันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

นอกจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งด้วยสาเหตุที่กล่าวมา ก็มีรถยนต์ที่ถูกทิ้งเพราะเกิดอุบัติเหตุ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” บริษัทประกันภัยจะเคลมรถใหม่ให้แก่ลูกค้า พร้อมกับทิ้งรถเก่าเข้าป่าช้ารถไป

อย่าคิดว่ารถที่ถูกทิ้งจะต้องถูกชนยับแบบเมืองไทย เพราะการ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” ของญี่ปุ่น คือ การชนในส่วนที่ไขน็อตเปลี่ยนไม่ได้ ในเมื่อค่าแรงแพงมาก จะมาดึงมาเคาะโป๊วสีนั้นไม่คุ้มแน่ บางครั้ง แค่ชนท้ายยุบหรือเสาประตูงอ รถก็ถูกทิ้งกันแล้ว

ถ้าอุบัติเหตุไม่เกิดขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เสียหาย เครื่องยนต์ก็จะถูกถอดลำเลียงมาจำหน่ายในเมืองไทย เช่นเดียวกับรถประเภทแรกที่เจ้าของทิ้งเพราะไม่อยากต่อทะเบียน

บางครั้ง รถก็เกิดอุบัติเหตุหลังผ่านการใช้งานเพียไงม่กี่เดือนหรือยังไม่พ้นระยะ “รันอิน” ด้วยซ้ำไป ถ้าใครโชคดีได้ซื้อเครื่องลักษณะนี้ ก็เท่ากับซื้อเครื่องใหม่ในราคาเครื่องเก่า

เครื่องยนต์ที่ถูกส่งเข้ามาขายจะปะปนกันระหว่าง “รถทิ้ง” กับ “รถชน” ซึ่งก็ไม่มีใครจดจำกันได้ แม้แต่ผู้ขายเอง

แต่เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ จะมีสภาพไม่ต่ำกว่า 50-70% อย่างแน่นอน คาดคะเนได้จากการใช้งานโดยเฉลี่ยของคนในเมืองหลวงวันละ 30-40 กิโลเมตร (ไป-กลับลาดพร้าว-ฝั่นธนบุรี) 1 ปีจะถูกใช้ประมาณ 14,000 กม. 4 ปีก็ 56,000 กม. ยังเหลือให้เราใช้อีกกว่า 50%
บางเครื่องอาจจะถูกใช้น้อยกว่านี้ เพราะเป็นที่ถูกทิ้งเพราะการชน อีกทั้งการแข่งขันของกลุ่มผู้ค้าอะไหล่เก่าก็รุนแรงขึ้น จนต้องมีการคัดสรรเครื่องยนต์ที่มีสภาพดีมาจำหน่าย

ความคุ้มคาของการเลือกซื้อเครื่องยนต์ใหม่ (ใช้แล้ว) อยู่ที่เทคนิคการเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่มีอายุการใช้งานเหลืออยู่มากที่สุด

ข้อดีของการเลือกเปลี่ยนเครื่องยนต์
ความแน่นอนในการประปอบชิ้นส่วน – ช่างในโรงงานผู้ผลิตย่อมเหนือกว่าฝีมือช่างตามอู่ทั่วไป ในกรณี “ฟิตเครื่อง” จะต้องลุ้นในฝีมือช่างประกอบด้วย อะไหล่ดีหมดแต่ฝีมือไม่ดีก็พังได้

การควบคุมค่าใช้จ่าย – ค่าใช้จ่ายหลักมีเพียงค่าเครื่อง, ค่าหัวเทียน, ผ้าคลัตช์, น้ำมันเครื่อง ทางอู่บริการไม่สามารถบวกค่าอะไหล่ได้มากเท่ากับการฟิตเครื่อง ลดค่าแรงการฟิตเครื่อง 2,000-4,000 บาท มาเป็นค่าเปลี่ยนเครื่อง 800 –1,500 บาทเท่านั้น

ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฟิตเครื่องยนต์ – การฟิตเครื่องที่จะได้เครื่องสมบูรณ์ใกล้ 100% ที่สุด จำเป็นต้องใช้อะไหล่แท้ที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ราคาอะไหล่ทั้งหมด แพงกว่าราคาเครื่อง 1 ตัวอีก และถึงแม้จะใช้อะไหล่แท้และประกอบดีเพียงใด เครื่องยนต์ที่เสร็จออกมาก็จะได้แค่ “ใกล้” 100% หรือประมาณ 80-90% เท่านั้นเอง เพราะหลายชิ้นส่วนมีการสึกหรอแล้ว

อะไหล่เหลือเก็บ – ควรเก็บเครื่องยนต์เก่ากลับมาบ้าน (ถ้ามีที่เก็บ) เพราะอะไหล่ต่าง ๆ อาจนำมาใช้ได้ในอนาคต ถ้าที่เก็บไม่พอ ให้ถอดอะไหล่ชิ้นต่าง ๆ ออกมาเก็ไว้ เช่น ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท, คาร์บูเรเตอร์, จานจ่าย, สายหัวเทียน, ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง, ฟลายวีล, ทวีคลัตช์, ผ้าคลัตช์, ปั๊มน้ำ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้เสมือนผลกำไรของเรา อนาคต ถ้าชิ้นส่วนเหล่านี้เสีย ก็จะมีอะไหล่ใช้โดยไม่ต้องซื้อ

ประหยัดเวลา – การเปลี่ยนเครื่องใช้เวลาเพียงครึ่งวัน-สองวัน สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากเสียค่าเดินทางหลายวัน คางจากการฟิตเครื่องที่ใช้เวลา 3-7 วัน
เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี

ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เทคนิคเลือกซื้อรถปิกอัพให้คุ้คค่าที่สุด

เทคนิคเลือกซื้อรถปิกอัพให้คุ้คค่าที่สุด

เทคนิคเลือกซื้อรถปิกอัพ

ปิกอัพที่ก้าวไกลทั้งเทคโนโลยี และเต็มไปด้วยการแข่งขัน มีให้เลือกหลากรุ่นหลายยี่ห้อ สารพัดรายละเอียดทางเทคนิค ย่อมทำให้เกิดความสับในในการเลือกซื้อขึ้นได้ เลือกอย่างไรให้คุ้มค่าให้ตรงจุดประสงค์ที่แท้จริง

พัฒนาการทางเทคโนโลยี
ปิกอัพไทย แม้มีพื้นฐานมาจากการเป็นรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และเพื่อการขนส่ง แต่ด้วยความนิยม และลักษณะการใช้งานของคนไทย ส่งผลให้แนวทางการพัฒนาปิกอัพทุกยี่ห้อพลิกผัน กลายเป็นยานยนต์เอนกประสงค์อย่างเต็มตัวไปแล้ว
นั่งก็ได้ บรรทุกก็ดี แรงเร็วไม่แพ้รถเก๋ง และที่สำคัญคือ ราคาก็แพง โดยถูกกว่าเก๋งแบบคอมแพ็กต์ซีดานเพียงนิดเดียวเท่านั้น
เมื่อมีราคาแพง และมีกรแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีกันดุเดือด ก็ย่อมเกิดความสับสนใจการเลือกซื้อได้ง่าย

ตั้งหลักเลือก
เลือกซื้อปิกอัพรุ่นใด ให้คุ้มค่าเงินที่สุด…? คำถามที่พบได้บ่อยครั้ง เพราะใคร ๆ ก็อยากจ่ายเงินอย่างคุ้มค่า แต่คำถามนี้เป็นการถามโดยไม่ได้ฉุกคิดว่า รถทุกประเภททุกรุ่นย่อมมีจุดด้อยจุดเด่นแตกต่างกัน ไม่มีดีโดยรวม หรือดีทุกด้านเหนือกว่ารุ่นอื่นทั้งหมด
อย่าเพิ่งรีบท้วงกันตั้งแต่เริ่มต้นว่า ก็มีเงิน แต่ไม่มีความรู้เรื่องรถยนต์ แล้วจะไปรู้รายละเอียดได้อย่างไรว่า ปิกอัพรุ่นใดมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร จริงที่คนส่วนใหญ่ซึ่งกำลังจะตัดสินใจซื้อ ไม่มีความรู้ลึกล้ำเพียงพอว่า รถรุ่นไหนมีอะไรเด่นมีอะไรด้อย จึงต้องหาข้อมูลมาจากคนอื่น แต่ลึก ๆ ก็มีความต้องการรายละเอียดอยู่ในใจ

ลองตั้งหลักใหม่ ถามตัวเองว่า เน้นคุณสมบัติด้านใดเป็นพิเศษ และด้านใดรองลงมา เช่น เน้นประหยัด ชอบห้องโดยสารกว้าง อยากได้แรง ๆ เน้นศูนย์บริการดีอะไหล่ถูก หรือต้องการบรรทุกหนักมาก ๆ ได้ดี ฯลฯ
ระลึกไว้ว่า ปิกอัพก็เหมือนกับรถยนต์นั่ง ไม่มีรุ่นใดเด่นครบไปทุกคุณสมบัติ เช่น แรงแต่ประหยัด ห้องโดยสารก็กว้าง ศูนย์บริการเพียบหรืออะไหล่ราคาถูก

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสรุปความต้องการที่แท้จริงของตนเองให้ได้ก่อน ยกเว้นจะซื้อมาใช้งานทั่วไป ไม่ได้เน้นอะไร ขอให้ไม่เสียกลางทาง พาไปถึงจุดหมายได้ก็พอ อย่างนั้น ซื้อรุ่นที่ได้รับความนิยมในตลาดกันมาก ๆ ก็พอได้ และไม่ต้องเสียเวลาเฟ้นหา
การเลือกซื้อปิกอัพรุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาด ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นรุ่นที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ เด่นไปทั้งหมด เพราะยอดการจำหน่ายรถยนต์ในไทย ไม่ได้มีตัวแปรอยู่ที่คุณภาพเท่านั้น
หลายคนซื้อตามกระแสสังคมหรือซื้อตามความรู้สึกนึกคิดไปเอง เช่น ดีไม่ดีหรือตรงกับความต้องการหรือไม่ เรื่องนี้ไม่ทราบ แต่เห็นคนใช้กันเกลื่อนถนนหรือใคร ๆ ในหมู่บ้านก็ซื้อใช้กัน ก็เลยซื้อตาม เพราะเดาไปเองว่า รุ่นนั้นต้องมีอะไรดีแน่ ๆ ถึงได้รับความนิยม
ในความเป็นจริง คนที่ซื้ออาจเน้นความประหยัดน้ำมันเป็นสำคัญ แต่คัวเราเองมีความต้องการในเรื่องสมรรถนะ และความแรง ไม่ค่อยสนใจความประหยัด เพราะขับวันละไม่กี่สิบกิโลเมตร ถ้าไปเลือกตามกระแสสังคมก็คงผิดหวัง

ในเมื่อมีจุดเด่นก็ต้องมีจุดด้อย เมื่อเฟ้นหาปิกอัพรุ่นที่มีคุณสมบัติเด่นตรงใจได้แล้ว ก็ต้องทำใจกับจุดด้อยอื่น ๆ ให้ได้ ไม่ใช่มีจุดเด่นแล้วจะไม่ยอมให้มีจุดด้อย

หลังจากสรุปความต้องการได้แล้ว แม้ไม่ง่ายเลยที่จะหาข้อมูลว่า ปิกอัพรุ่นใดมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตนเอง แต่ก็ไม่ถือว่ายากนักในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เช่น ถามคนรู้จักที่เคยใช้ ถามในสารพัดสื่อมวลชนที่มีหลายแขนง

ควรถามให้มากคนมากแหล่งที่สุดเท่าที่ตัวเองสะดวก เพราะไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า ข้อมูลนั้นจะไม่ผิดเพี้ยน บางคนตอบโดยบริสุทธิ์ใจ แต่ไม่รู้จริง ตอบตามความรู้สึกของตนเอง บางคนเอนเอียงเพราะใจขอบอยู่แล้ว
จำไว้ว่า ไม่มีปิกอัพยี่ห้อใดดีที่สุด แต่จะมีดี และเหมาะกับแต่ละคน ที่มีความต้องการแตกต่างกันออกไป

ตัวถังแบบใด
ไม่มีแค็บ, 2 ประตูมีแค็บ หรือ 4 ประตูตัวกระบะสั้น หรือล่าสุด แบบบานแค็บเปิดได้ ไม่ว่าแบบใด ควรเลือกตามลักษณะการใช้งานที่แท้จริงหรือเลือกตามการขายต่อ
ถ้าเลือกตามการใช้งาน ก็ต้องเป็นตัวถังแบบไม่มีแค็บ ราคาถูก กระบะยาว บรรทุกสัมภาระได้สะใจ เหมาะสำหรับใช้ขนส่งสินค้าอย่างจริงจัง ตัวถังไม่มีส่วนแค็บให้เกะกะ ตัวกระบะมีช่วงยาว แต่กาขายต่อจะยาก และราคาตกกว่าแบบมีแค็บหรือ 4 ประตู
ตัวถัง 2 ประตูแบบมีแค็บ มีความเอนกประสงค์ และได้รับความนิยมที่สุด เพราะพอจะนั่งอัด ๆ กันได้หลังเบาะหน้า รวมแล้วพอไปได้ 5 คน ตัวกระบะด้านหลังมีความยาวมากพอจะบรรทุกสัมภาระได้เหลือเฟือ การขายต่อสะดวก และได้ราคาดี
ตัวถัง 4 ประตู ตัวกระบะสั้น เน้นการใช้งานในห้องโดยสาร แม้นั่งเบาะหลังแล้วไม่สบายเท่ารถเก๋ง แต่ก็สะดวกกว่าแบบ 2 ประตู มีแค็บ ห้องโดยสารมี 4 ประตูทำให้ตัวกระบะสั้นลง บรรทุกของได้น้อย การขายต่อได้ราคาดี แต่ขายต่อไม่ง่ายเท่ากับแบบ 2 ประตูมีแค็บ ซึ่งมีราคาถูกกว่า และใช้งานได้เอนกประสงค์ทั้ง 2 ด้านพอ ๆ กัน นั่งก็พอได้ บรรทุกก็ได้มาก

ทำใจกับจุดด้อยพื้นฐาน
นอกจากจุดด้อยของปิกอัพแต่ละยี่ห้อที่แตกต่างกันแล้ว ยังต้องทราบไว้ด้วยว่า ปิกอัพทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ล้วนมีจุดด้อยขั้นพื้นฐานเหมือนกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะปิกอัพเกิดมาบนพื้นฐานของรถยนต์เพื่อการขนส่ง แม้จะมีการพัฒนานำสารพัดเทคโนโลยี และความสะดวกสบายเพิ่มเข้าไป เพื่อเอาใจผู้บริโภคที่นำไปใช้งานกึ่งรถเก๋ง ไม่ได้บรรทุกจริงจัง แต่ไม่ว่าจะพัฒนาไปมากแค่ไหน ก็ยังได้แค่ขยับเข้าไปใกล้ ๆ รถเก๋งเท่านั้น ไม่สามารถเท่าเทียมได้ 100% โดยเฉพาะด้านความนิ่มนวล การทรงตัว และการบังคบควบคุม เพราะพื้นฐานของช่วงล่างที่ต้องออกแบบไว้เผื่อการบรรทุก

เทคโนโลยีสูง น่ากลัวหรือไม่
ด้วยกระแสการแข่งขันทางการตลาด และการควบคุมมลพิษของทางราชการ ทำให้ปิกอัพไทยมีเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่อง รถเก๋งมีอะไรปิกอัพก็ไม่น้อยหน้า เอบีเอส แอร์แบ็ก เทอร์โบ หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ และคอมมอนเรล หลายคนจึงระแวงว่า อะไรที่ไฮเทค ถ้าเสียแล้วจะซ่อมยาก หรือซ่อมแพง

ในกรณีของเทคโนโลยียานยนต์ อย่างเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เครื่องยนต์เบนซินหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่งเริ่มแพร่หลายในเมืองไทย ทั้งผู้ซื้อ และช่างก็หวาดกลัว เรื่องความจุกจิก และการซ่อมแซม

แต่พอวันเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กลับตาลปัตรแล้วว่า ถ้าใครจะซื้อรถยนต์มือสองอายุ 10-15 ปี ซึ่งมีทั้งรุ่นใช้เครื่องยนต์หัวฉีดหรือคาร์บูเรเตอร์ ก็มักจะเลือกรุ่นหัวฉีด หรือช่างซ่อมรถในปัจจุบัน กลับเมินหน้าหนี เมื่อเจอเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์

กรณีของปิกอัพก็เช่นเดียวกัน หลายเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่แต่ก่อนคนไทยกลัว กลับเป็นเรื่องปกติและเป็นที่ต้องการ เมื่อก่อนไม่มีเทอร์โบ พอเริ่มมีก็กลัวว่าพังง่าย แต่ในปัจจุบัน ถ้าไม่มีเทอร์โบกลับไม่ชอบ เพราะกลัวไม่แรง หรือเอบีเอส และแอร์แบ็ก ก็เรียกร้องว่าควรมี

เทคโนโลยีใหม่ ๆ แม้ทราบกันดีว่า ถ้าพังก็ต้องเสียเงินซ่อมแพง แต่ก็ควรยอมรับกันได้ เพราะแลกได้กับประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่มีมากกว่าตลอดการขับ

ดีกว่าเน้นซ่อมถูก แต่ประสิทธิภาพต่ำ ต้องทนใช้อยู่ตลอด เพราะตราบใดที่โลกยังหมุนไป เทคโนโลยีใหม่ ๆ ย่อมเกิดขึ้นเสมอ อย่างปิกอัพไทย ไม่น่าเกิน 3 ปี รุ่นสูงสุดของแต่ละยี่ห้อ น่าจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมมอนเรล อัดอากาศด้วยเทอร์โบมีกำลังแถว ๆ 150 แรงม้า

มลพิษ เรื่องใกล้ตัวที่ถูกเมิน
การเลือกซื้อปิกอัพ คนส่วนใหญ่มักสนใจคุณสมบัติของตัวรถที่สัมผัสได้ เช่น แรงไหม เร็วไหม กินน้ำมันเท่าไร เกาะไหม นุ่มแค่ไหน เพราะจ่ายเงินตั้งหลายแสนบาท ก็ต้องขอความคุ้มค่าที่ตรงใจ และใช้ได้จริง

แต่แทบไม่มีใครสนใจในการตัดสินใจซื้อเลยว่า ปิกอัพรุ่นนี้ ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับใด ผ่านแค่มาตรฐานที่ราชการกำหนด หรือผ่านในระดับที่สะอาดกว่ากำหนด

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะไม่สนใจ เพราะคนส่วนใหญ่ในชาติใด ๆ ก็เป็นเช่นนั้น ราชการจึงมีหน้าที่ตั้งกฎข้อบังคับออกมา เพื่อไม่ให้อากาศของลูกหลานเราในอนาคต มีมลพิษปะปนอยู่มากเกินไป

หากคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ลองหาโอกาสไปยืนริมถนนกลางเมืองที่มีการจราจรติดขัด มีตึกบังอยู่รายรอบ ลมไม่ค่อยหมุนเวียน แล้วลองนึกเปรียบเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วว่า ความสะอาดของอากาศที่ผ่านจมูกเข้าไป แตกต่างกันแค่ไหน

หากจะนำระดับของมาตรฐานไอเสียเป็นตัวแปรหนึ่งในการตัดสินใจ ก็นับเป็นเรื่องที่ดี เพราะอากาศไม่ได้เป็นของคนรุ่นเรา แต่เป็นมรดกของลูกหลานที่ไม่ใช่ว่าเราจะทำลายยังไงก็ได้ แต่ ณ วันนี้ เป็นการขอยืมอากาศของลูกหลานมาใช้ต่างหาก
ไม่ต้องเรียนรู้ลึก ๆ ให้ปวดหัวว่า มาตรฐานไอเสียระดับใด ต้องมีก๊าซพิษแต่ละตัวเท่าไรต่อเท่าไร ดูง่าย ๆ ก็พอว่า ผ่านมาตรฐานไอเสียยูโรป สเตปเท่าไร เพราะไทยอ้างอิงตามยุโรป ตัวเลขของสเตปยิ่งมาก แสดงว่า เป็นมาตรฐานระดับใหม่ และไอเสียต้องสะอาดกว่าตัวเลขระดับน้อย ๆ



ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ

เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ
การเดินทางด้วยรถยนต์ ต้องเผชิญกับหลากสภาพและรูปแบบการขับ เช่น การขับตอนกลางคืน หรือการขับบนทางชัน ซึ่งแต่ละสถานการณ์มีเทคนิคการขับอย่างปลอดภัยต่างกัน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

รถยนต์ติดบนทางชัน
สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หากเป็นการจอดติดที่นานมาก สามารถดึงเบรกมือไว้ เหยียบเบรก พร้อมปลดตำแหน่งมายังเกียร์ว่าง-N นอกจากเป็นการติดช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาที สามารถเหยียบแป้นเบรกค้าง หรือ ดึงเบรกมือไว้ โดยตำแหน่งเกียร์ยังอยู่ที่ D เมื่ออกตัวก็ยกเท้าจากแป้นเบรกมากกดคันเร่ง แล้วจึงปลอดเบรกมือ
บางคนคิดว่าการกระทำแบบนี้ จะทำให้เครื่องยนต์เสียหาก ซึ่งเป็ฯความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะขณะจอดนิ่ง เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบา จึงมีภาระน้อย และในชุดเกียร์อัตโนมัติก็ไม่มีการขับเคลื่อนใด ๆ เพราะมีการเบรกอยู่ และที่ทอร์คคอนเวิร์ดเตอร์ก็สามารถหมุนฟรีได้

แต่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์สลับไป-มา ระหว่างเกียร์ N และD ชุดคลัตช์จะมีการจับ-ปล่อยหลายครั้ง ทำให้มีความสึกหรอมากกว่าการค้างอยู่ในเกียร์ D และเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือไว้ กรณีนี้คล้ายกับการจอดรถยนต์บนการจราจรทางราบปกติ ควรเหยียบเบรกและค้างไว้ที่ตัว D ไม่ต้องปลดมาที่N ถ้าไม่ได้จอดริมทางหรือการจราจรติดขัดอย่างหนัก

ส่วนรถยนต์เกียร์ธรรมดาที่ต้องหยุดบนทางลาดชัน ให้ดึงเบรกมือและปลดเป็นเกียร์ว่าง ก่อนออกตัวเหยียบแป้นเบรก พร้อมเข้าเกียร์ 1 จากนั้นจึงปล่อยคลัตช์และค่อย ๆ เหยียบคันเร่ง เมื่อเริ่มรู้สึกว่ารถยนต์กำลังเคลื่อนตัวจึงปลดเบรกมือลง วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และไม่ต้องเสี่ยงกับการที่รถยนต์ไหลไปชนกับคันหลังอีกด้วย

ขับกลางคืนอย่างมั่นใจ
หลายคนอาจชอบการขับรถยนต์ตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องเผชิญกับการจราจรที่ติดขัดหรือแดดร้อน ทำให้ขับได้สบายและใช้ความเร็วได้สูงกว่า

ความจริงแล้ว การขับในตอนกลางคืนแม้สบายจริง แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นถูกจำกัด ทำให้มีเวลาในการตัดสินใจน้อยลง จึงควรใช้ความเร็วต่ำกว่าตอนกลางวัน

ส่ายสายตาป้องกันการหลับใน
การสร้างความตื่นตัวตลอดเวลาที่ขับตอนกลางคืนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะร่างกายอาจอ่อนล้ามาจากการทำงานในช่วงกลางวัน จนทำให้ประสิทธิภาพในการขับลดลง

ควรส่ายสายตาไปมา ไม่เพ่งอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความล้าทางสายตา จนเหม่อลอยและหลับในได้

หากรู้สึกอ่อนเพลีย ควรพักสายตาาด้วยการเหลือบมองไปทางกระจกมองข้างซ้าย-ขวา สลับกับการมองทางข้างหน้า จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัวได้ระดับหนึ่ง และเป็นการพักสายตาจากการเพ่งมองแต่ทางข้างหน้า
แต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอนจริง ๆ ควรจอดพักริมทางในจุดที่ปลอดภัยทั้งจากโจรผู้ร้ายและรถยนต์ที่ขับไปมา ไม่ควรฝืนร่างกายต่อไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้

ระวังจุดก่อสร้างให้ดี
ในช่วงกลางคืน บนเส้นทางธรรมดาโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มักมีการสร้างถนนหรือขุดเจาะ ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบเส้นทางการเดินรถจากปกติ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้าง ผู้ขับควรระวังในจุดนี้ เพราะอาจสร้างความสับสนจนเกิดอุบัติเหตุได้

นอกจากนั้น อีกจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ การกั้นช่องทาง เพราะบ่อยครั้งที่มักมีการปืดในบางช่องเพื่อการก่อสร้าง โดยไม่มีการเปิดสัญญาณไฟเตือนหรือปักป้ายบอกให้ผู้ขับทราบล่วงหน้าในระยะที่เพียงพอต่อการเตรียมตัว

อันตรายจากทุกสิ่งกีดขวาง
มีมากที่ผู้ขับต้องระมัดระวังในการขับกลางคืน เช่น
- การจอดรถยนต์ริมทางเดินเท้าในช่องทางซ้ายสุด ตามเส้นทางต่าง ๆ
- รถยนต์จอดเสียอยู่ข้างทาง เพราะบ่อยครั้งที่เจ้าของรถยนต์มักไม่นำป้ายสัญญาณมาบอกเตือนก่อนล่วงหน้า และที่แย่ไปกว่านั้น คือ มักไม่มีการเปิดไฟฉุกเฉิน ซึ่งที่เห็นบ่อยก็คือ บรรดารถประจำทางทั้งหลายที่มักนำแค่เบาะนั่งมาวางพาดกันชนหลัง โดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน
- ผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่มักไม่ชอบเปิดไฟหน้าหรือไม่มีไฟส่องสว่าง
- บ่อยครั้งที่อาจมีสุนัขหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น วิ่งตัดหน้า หากสุดวิสัยจริง ๆ คงต้อชน เพราะถ้าเบรกกระทันหันหรือหักหลบเราอาจเป็นอันตรายได้

เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ


ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เทิคนิคการเบรกให้ปลอดภัย

เทิคนิคการเบรกให้ปลอดภัย
เบรกอย่างไรให้ปลอดภัย…!
การเบรกแบ่งเป็น 2 แบบหลัก คือ เบรกเพื่อชะลอความเร็ว และเบรกเพื่อหยุด เพื่อความปลอดภัย ก่อนการ เบรกควรประเมินสถานการณ์ด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อให้น้ำหนักในการเบรกเป็นไปอย่างเหมาะสม

การเบรกเพื่อชะลอความเร็ว น้ำหนักในการเบรกต้องสัมพันธ์กับความเร็วของรถยนต์คันอื่น ไม่ควรกดเบรก หนักจนความเร็วลดลงมากเกินไปเพราะจะสิ้นเปลืองเวลาและน้ำมันเชื้อเพลิงในการเร่งความเร็ว แต่ไม่ควร แตะเบรกเบาเกินไปจนขาดความปลอดภัย
การเบรกเพื่อหยุดในสภาพปกติ ควรแตะเบรกล่วงหน้าเพื่อใช้ไฟเบรกเตือนให้รถยนต์คันหลังเตรียมตัวเบรก ไม่ควรขับเข้าไปใกล้คันหน้าและกดเบรกอย่างรุนแรง เพราะล้ออาจล็อกจนเสียการทรงตัว และทำให้เกิด ความสึกหรอในชุดเบรกสูง หรือรถยนต์คันหลังอาจเบรกไม่ทันจนชนท้าย
ส่วนการเบรกในสถานะการณ์ฉุกเฉิน ควรหยุดให้ใกล้รถยนต์คันหน้ามากที่สุด เพื่อรถยนต์ที่ตามมาด้าน หลังจะได้มีระยะเบรกมากขึ้น
สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา ต้องเหยียบคลัตช์เมื่อรถยนต์เกือบหยุดแล้วเท่านั้นเพราะการเหยียบเบรกพร้อม กับการเหยียบคลัตช์นั้น เปรียบเสมือนการเบรกพร้อมกับปลดเกียร์ว่าง เครื่องยนต์ที่ถูกปลดออกจากการขับ เคลื่อน ไม่สามารถหน่วงช่วยการเบรกได้ รถยนต์จะมีแรงเฉื่อยเพิ่มขึ้น เบรกทำงานหนักขึ้น และระยะทาง การหยุดเพิ่มขึ้น

การเบรกในขณะที่ยังค้างอยู่ในเกียร์ขับเคลื่อน
เครื่องยนต์จะใช้รอบการหมุนหน่วงความเร็วของตัวรถยนต์ไว้ด้วย จึงควรเริ่มเหยียบคลัตช์เมื่อรถยนต์ใกล้ หยุดสนิท เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับส่วนเกียร์อัตโนมัติก็กดเบรกอย่างเดียว ไม่ควรปลดเกียร์ว่างแล้วเบรก เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายในชุดเกียร์
การลดเกียร์ลงต่ำเพื่อช่วยเบรกเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
เพราะทำให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เกิดความสึกหรอมากกว่าปกติ หรือเกิดความเสียหายได้ ล้อขับเคลื่อนที่หมุนด้วยความเร็ว เมื่อถูกหน่วงด้วยเครื่องยนต์ เพลาขับจะได้รับ แรงบิดสูงอาจทำให้เพลาขับสึกหรอมากกว่าปกติ

การขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง เป็นความรื่นรมย์ของผู้ขับบางคน โดยอาจลืมนึกถึงระยะที่ต้องใช้ในการเบรก หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

การใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด คือ ประมาณ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลา 36 วินาที ภายใน 1 วินาที จะแล่นไปได้ 28 เมตร เมื่อเปรียบเทียบกับสนามฟุตบอลมาตรฐาน ความยาวประ มาณ 100 เมตร จะแล่นผ่านภายในเวลา 3.6 วินาที

การขับด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนถนนแห้ง เมื่อผู้ขับเห็นอุปสรรคด้านหน้าและต้องการเบรก จะใช้เวลาตอบสนองตั้งแต่เริ่มมองเห็นจนเท้าแตะเบรกประมาณ 0.6 วินาที หรือคิดเป็นระยะทางก่อนกด เบรก 17 เมตร และระยะทางหลังกดเบรก 85 เมตร รวมระยะทางที่ใช้หยุด 102 เมตร แต่ถ้าผิวถนนเปียก หรือผู้ขับมีการตอบสนองช้า ระยะทางที่ใช้หยุดก็จะเพิ่มขึ้น
เทิคนิคการเบรกให้ปลอดภัย

ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เรื่องควรเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อไร?

เรื่องควรเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อไร?
เมื่อไรควรเปลี่ยนยาง
ยางรถยนต์ไม่ได้หมดอายุจากการสึกของดอกยางเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ยางหมดอายุได้ โดยแบ่งเป็น 6 ลักษณะ คือ ดอกหมด ไม่เกาะ เนื้อแข็ง โครงสร้างกระด้าง เสียงดัง หรือแก้มบวม ถ้าเกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียวหรือควบคู่กัน ก็ถือว่ายางนั้นหมดอายุ
การเปลี่ยนยาง ควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางผ่านการใช้งานมาเท่ากัน ย่อมมีการสึกหรอและสภาพภายในที่ใกล้เคียงกัน โดยควรเลือกใช้ยางรุ่น และขนาดเดียวกันทั้ง 4 ล้อ

· สาเหตุของการหมดอายุของยาง
ดอกหมด – ถ้ายางดอกหมด หรือร่องยางเหลือตื้นมาก แต่ส่วนประกอบของยางเส้นนั้นยังดีอยู่ ก็ยังสามารถใช้บนถนนเรียบ และแห้งได้ และจะเกาะถนนแห้งดีกว่ายางมีดอกที่มีความกว้างเท่ากัน เพราะมีพื้นที่สัมผัสถนนมากกว่า ส่วนร่องยางมีหน้าที่ในการรีดน้ำ ฝุ่น และโคลนเป็นหลัก ยิ่งร่องตื้น หน้าสัมผัสของดอกยางก็ยิ่งมาก เพราะร่องยางส่วนใหญ่เป็นทรงกึ่งตัววี – V

แต่รถยนต์ที่ขับใช้งานทั่วไป ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าเมื่อไรจะเจอถนนเปียก เมื่อยางดอกหมดหรือหรือมีความลึกต่ำกว่าที่กำหนด ก็ควรเปลี่ยนชุดใหม่
เนื้อแข็ง – ตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง ที่เมื่อถูกความร้อน (ที่ไม่ร้อนจัดถึงขั้นละลาย) ก็จะค่อย ๆ แข็งขึ้น ยางรถยนต์ส่วนใหญ่ เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง และได้รับความร้อนจากสภาพอากาศ พื้นถนน และการบิดตัวของยางเอง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดการหมุน เนื้อยางก็จะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อเนื้อยางเริ่มแข็งขึ้น การสึกของดอกยางก็จะช้าลง มองดูแล้วเห็นว่าร่องยางยังลึกอยู่ แต่แรงเสียดทานระหว่างดอกยางกับผิวถนนจะมีน้อยลง และโครงสร้างภายในของยางก็เสื่อมสภาพลงด้วย


หากเปรียบเทียบอัตราการสึกของดอกยางต่อระยะทาง เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว แทบไม่มียางรุ่นไหนที่ดอกสึกเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มักจะสึกช้าลงหรือแทบไม่สึกเลยเมื่อเนื้อยางแข็งกระด้างเต็มที่ ทดสอบง่าย ๆ โดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายาง เปรียบเทียบกับยางใหม่ ๆ ที่สามารถจิกลงไปในเนื้อยางได้ง่าย และลึกกว่า

หากดอกยางใหม่หมด เฉลี่ยคร่าว ๆ ว่า เมื่อเกิน 3 ปี หรือเกิน 50,000 กิโลเมตร หากต้องการใช้งานต่อ ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ และควรหลักเลี่ยงยางเก่าเก็บ เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการใช้ยางสั้นลงกว่า 3 ปี

เสียงดัง – เป็นผลต่อเนื่องมาจากการแข็งตัวของเนื้อยาง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น ลื่น และเกิดเสียงดังขึ้นขณะขับ โดยเฉพาะยางที่มีดอกขนาดใหญ่ และร่องยางห่าง ซึ่งปกติก็มีเสียงดังอยู่แล้ว เมื่อผ่านการใช้งานไปนาน ๆ ก็จะมีเสียงดังมากขึ้น

แก้มบวม – มักเกิดจากการหมดอายุของโครงสร้างภายใน หรือการกระแทกอย่างรุนแรง เช่น การขับตกหลุมหรือเบียดเข้าขอบทางเท้า จนโครงสร้างภายในบริเวณแก้มยางแตกหักเสียหาย บริเวณแก้มยางจะป่องออกมาคล้ายลูกมะนาว ซึ่งมีอันตรายมากอาจถึงขั้นยางระเบิด โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นบริเวณแก้มยางด้านใน ซึ่งสังเกตได้ยาก

ดังนั้น จึงมีข้อควรจำก็คือ หากตกหลุมหรือกระแทกอะไรแรง ๆ ควรรีบตรวจสอบยางเส้นนั้นอย่างละเอียดทั้ง 2 ด้าน ถ้าพบว่ามีการบวม ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทันที

· เกร็ดการยืดอายุยาง
1. ตรวจสอบหน้ายางและแก้มยางว่ามีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เช่น รอยบาด การบวม การแตกลายงาในทุกส่วนของยาง หากเกิดการชนหรือบาดกับของมีคมหรือเศษวัสดุก่อสร้างบนท้องถนนที่แก้มยางจนถึงชั้นผ้าใบ ควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรซ่อม เพราะแก้มยางคือจุดที่ต้องรับน้ำหนัก และมีการบิดตัวไปมาขณะรถยนต์ขับเคลื่อน อาจเกิดการระเบิดได้หากมีการฉีกขาด

2. น้ำมันทุกชนิดมีผลทำให้ยางบวมหรือร่อน ควรหลีกเลี่ยงการจอดหรือขับทับน้ำมัน หรือหากมีน้ำกรดโดนยาง ควรล้างออกด้วยน้ำสบู่เท่านั้น เพราะมีค่าเป็นด่าง

3. ตรวจสอบสภาพของกระทะล้อ และวาล์วเติมลมเป็นประจำ เพราะบ่อยครั้ง การแบนหรือรั่วซึมมาจาก 2 จุดนี้ ไม่ได้เกิดจากตัวยาง และควรมีฝาปิดจุกเติมลมให้มิดชิด

4. เมื่อรถเสีย และถูกลากเป็นระยะทางไกล ๆ (สำหรับรถขับเคลื่อนล้อหน้า) ควรเพิ่มแรงดันลมยางที่ล้อหลังอีก 3-4 ปอนด์/ตารางนิ้ว
5. การเข้าโค้งอย่างรุนแรง หรือการออกตัวแบบกระชากกระชั้น ทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติ
6. ตรวจสอบความลึกของดอกยางว่าถึงระดับที่ควรเปลี่ยนหรือยัง ซึ่งความลึกของร่องยางที่เหมาะสม ควรมากกว่า 2 มม. โดยยางเกือบทุกรุ่นจะมีสัญลักษณ์บอกระดับความลึกของดอกบาง เป็นแท่งเชื่อมระหว่างดอกยางบริเวณส่วนลึกสุดของร่องยาง (ไม่ใช่ทุกร่อง) เมื่อไรที่ดอกยางสึกจนถึงแท่งนี้ แสดงว่าควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่

อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นของยางควบคู่ไปด้วย เช่น สภาพของเนื้อยางมีการบวม หรือแตก เพราะยางบางเส้นอาจหมดอายุการใช้งาน เนื่องจากสภาพของเนื้อยาง แม้ดอกยางยังมีความลึกมากกว่า 2 มม. ก็ตาม

7. ควรแคะก้อนกรวดที่ค้างอยู่ในร่องยางออกให้หมด เพราะสิ่งเหล่านี้จะค่อย ๆ เบียดลงไปจนทำให้ทิ่มตำเนื้อยางได้

· การรับน้ำหนัก และความเร็วของยาง
นอกจากการขับขี่อย่างระมัดระวัง และดูแลรักษาที่ถูกวิธีแล้ว การเลือกยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำหนักบรรทุก และข้อจำกัดความเร็วของยางแต่ละเส้น ให้เหมาะสม ก็มีส่วนในการยืดอายุการใช้งาน เหนือสิ่งอื่นใด ยังหมายถึงความปลอดภัยของชีวิตด้วย

บนแก้มของยางแต่ละเส้นนั้น จะมีตัวเลข 1 คู่ และตามด้วยตัวอักษร ซึ่งจะบ่งบอกว่า ยางเส้นนี้ รับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด และความเร็วสูงสุดได้แค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น 87V ตัวเลข 2 หลักหมายถึง ดัชนีน้ำหนักบรรทุกของยางเส้นนั้น หรือ LOAD INDEX มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ซึ่งต้องอาศัยตารางในการเปรียบเทียบ

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างก็คือ V เป็นสัญลักษณ์ความเร็ว หรือ SPEED SYMBOL หมายถึ ง ความเร็วสูงสุดที่ยางเส้นนั้นรับได้ มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง ไม่ควรใช้ความเร็วสูงสุดเกินกว่าที่ยางรับได้ และถ้ายางผ่านการใช้งานมานาน ก็ไม่ควรขับถึงหรือใกล้ความเร็วสูงสุดที่ยางเส้นนั้นรับได้ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุระเบิดได้

เรื่องควรเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อไร?

ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

เรื่องการเกาะถนนของยางรถยนต์(เรื่องดอกยางรถ)

เรื่องการเกาะถนนของยางรถยนต์(เรื่องดอกยางรถ)
เรื่องการเกาะถนนของยางรถ
ประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนของยาง ขึ้นอยู่กับหลายส่วนประกอบ นอกจากยี่ห้อของยางแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ เนื้อยาง พื้นที่ของหน้าสัมผัส และพื้นที่ของร่องยาง

· เนื้อยาง – นิ่ม-แข็ง มีผลต่อการเกาะถนน
เนื้อยางนิ่ม น่าจะมีการยึดเกาะถนนที่ดี เพราะจะมีเฟืองยางนิ่ม ๆ ขนาดจิ๋วฝังลงไปบนพื้นมาก และเมื่อยางถูกหมุน เฟืองเหล่านั้นก็จะช่วยผลักให้ตัวรถยนต์เคลื่อนที่ การยึดเกาะจะดี และตัวเฟืองยางก็จะหลุดออกไปบ้าง จึงสึกหรอเร็ว

อย่างไรก็ตาม ถ้าเนื้อยางที่นิ่มเกินไป เมื่อล้อเริ่มหมุน เฟืองนิ่มก็จะล้ม ไม่สามารถช่วยผลักรถยนต์ให้เคลื่อนที่ไปได้ ถ้าเป็นเนื้อยางแข็ง ก็จะมีเฟืองลงไปฝังในพื้นถนนได้น้อย การยึดเกาะไม่ค่อยดี แต่ทนทาน

ถ้ายังงง ให้นึกเปรียบเทียบกับวัสดุที่มีความแข็งต่างกัน ว่าจะมีผลต่อแรงเสียดทานอย่างไร เช่น นำเหล็กแผ่นเรียบ ไม้ ยาง และรองเท้าฟองน้ำ ถูกกับถนน จะชัดเจนว่า เหล็กซึ่งแข็งที่สุดจะลื่นที่สุด ขณะที่รองเท้าฟองน้ำซึ่งมีความนิ่ม กลับฝืดที่สุด

ผู้ผลิตยางรถยนต์จึงต้องหาจุดพอดีของเนื้อยาง ถ้านิ่มมาก เกาะถนนดี และเสียงเงียบ แต่ใช้ได้ไม่นานก็สึกหมด และถ้าในตลาด ผู้ใช้ไม่ต้องการการยึดเกาะที่ดีสุดยอด แต่กลับผลิตยางเนื้อนิ่มมากออกมา แทนที่จะขายดี ก็กลับกลายเป็นจุดด้อยไป หรือหากผลิตให้เนื้อแข็งไว้หน่อย ก็จะลื่น และเสียงดังกว่า แต่ก็แลกมาด้วยความทนทาน

ยางที่เห็นในภาพประกอบ เป็นภาพขยายใกล้ ๆ ของเนื้อยางรถแข่งฟอร์มูลา วัน หลังผ่านการใช้งานมาแล้ว จะเห็นว่าเป็นขุย และนิ่มมาก ดูแล้วคล้ายฟองน้ำมากกว่ายาง เอาเล็บจิกได้ง่าย และลึก ความนิ่มไม่ต่างจากรองเท้าฟองน้ำที่ใช้กันอยู่เท่าไรนัก เพราะต้องการให้ยึดเกาะดีมาก ๆ ลื่นไถลน้อยที่สุด สึกหรอเร็วไม่เป็นไร เพราะแข่งสัก 100 กว่ากิโลเมตรก็เข้าพิตเปลี่ยนยางชุดใหม่แล้ว
ยางที่ใช้กับรถยนต์ทั่วไป จะมีเนื้อแข็งกว่ามาก ทั้งดูใกล้ ๆ ด้วยสายตาหรือใช้เล็บจิก เป็นเนื้อยางที่แน่น ไม่เป็นขุย และไม่คล้ายฟองน้ำเลย
นอกจากโครงสร้าง และพื้นที่ของหน้าสัมผัส ซึ่งมีผลต่อการเกาะถนนแล้ว เนื้อยางก็มีความเกี่ยวข้องอย่างมาก ตามที่เห็นว่าเมื่อใช้เล็บลองจิกดู ยางใหม่เอี่ยมจะมีเนื้อนิ่ม จิกลงไปได้ง่าย เกาะถนนดี และเงียบ เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะก็จะค่อย ๆ แข็ง และลื่นขึ้น
ไม่มีบทสรุปตายตัวว่า ยางใหม่เนื้อนิ่มแค่ไหนจึงจะดี เพราะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อว่า เน้นการเกาะถนนเพราะขับดุเดือด แล้วยอมให้ยางหมดเร็ว หรือขับเรื่อย ๆ เกาะดีแค่พอประมาณก็พอ เน้นให้ใช้งานได้นาน ๆ

เมื่อใช้งานแล้ว ก็ไม่มีบทสรุปตายตัวอีกเช่นกันว่า เมื่อใช้เล็บลองจิกดู เนื้อยางแข็งขึ้นแค่ไหนจึงควรเปลี่ยนใหม่ เพราะต้องแล้วแต่ความพอใจในประสิทธิภาพว่า ขณะนั้นขับแล้วเกิดอาการลื่นเพราะเนื้อยางแข็งบ่อยหรือไม่ มีเสียงดังเกินรับได้หรือไม่ หรือสภาพโครงสร้างยางส่วนอื่นบวม-แตกลายงา-ปริร้าว

แม้ในแวดวงวิศวกรรมยานยนต์จะมีมิเตอร์ (DUROMETER) ที่มีปลายสำหรับกดลงบนเนื้อยาง แสดงผลเป็นเข็มหรือตัวเลขบอกถึงความแข็งของเนื้อยาง แต่สำหรับคนทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องที่จะต้องซื้อมาใช้งาน เพราะมีราคาแพงกว่า 4,000 บาท และไม่ได้ใช้บ่อย

แค่ใช้วิธีง่าย ๆ โดยใช้เล็บจิกยางก็พอ แต่การตัดสินใจว่า จิกได้ง่ายขนาดไหนถึงเรียกว่านิ่มหรือแข็ง ไม่มีมาตรฐานตายตัว ต้องใช้ความรู้สึกส่วนตัวจากการทดลองจิกยางใหม่-เก่า ของรถตัวเอง รถเพื่อน หรือรถที่จอดอยู่

· ร่องยาง – ไม่ได้มีไว้เกาะถนน
ร่องยาง คือ ร่องที่ลึกลงไปจากหน้ายาง และดอกยาง ในความความหมายของคนทั่วไป เข้าใจกันว่า คือ ตัวแท่งของยางที่มียอดบนเป็นหน้ายางสัมผัสกับพื้น
ร่องยางไม่ได้มีไว้สัมผัสถนน การออกแบบให้ยางมีร่อง เพราะต้องการให้มีการรีดน้ำออกจากหน้ายางเมื่อลุยน้ำ ร้องยางเป็นช่องให้น้ำที่ถูกหน้ายางกดแล้วถูกรีดกระเด็นขึ้นมาอยู่หรือยางส่วนก็ถูกสบัดผ่านร่องยางแนวขนานหรือเฉียง ไล่ออกไปทางด้านข้างของหน้ายาง
หลายคนที่นึกว่าร่องยางมีไว้ให้ยึดเกาะถนน จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร เพราะปกติแล้ว ร่องยางจะมีแต่อากาศ ไม่ได้สัมผัสถนนเลย แถมร่องยางยังลดพื้นที่หน้าสัมผัสของยางอีกด้วย ยิ่งมีร่องยางมากเท่าไร ก็ยิ่งลดพื้นที่สัมผัสของหน้ายางลงไป
ตามรูปภาพประกอบ จะเห็นว่าบริเวณร่องยางจะไม่เป็นขุย เพราะไม่ได้สัมผัสถนนเลย และสาเหตุที่ยางฟอร์มูลา วัน ต้องทำเป็นร่องยาว ก็ไม่ได้หวังผลในการรีดน้ำ แต่เป็นเพราะผู้จัดการแข่งขันต้องการลดหน้าสัมผัสของยาง จากแต่ก่อนที่เป็นยางสลิกหน้าเรียบไร้ร่อง เพื่อไม่ให้ลดแข่งทำความเร็วสูงเกินไปจนอันตราย เพราะถ้าจะลดหน้าสัมผัสด้วยการลดความกว้างของหน้ายางโดยรวม ก็ต้องยุ่งยากเปลี่ยนขนาดยางหรือล้อแมกซ์

ประโยคที่ว่ายางดอกหมด ยางหัวโล้น ขับแล้วจะลื่น จึงไม่เป็นความจริงบนถนนแห้ง แต่เป็นความจริงบนถนนเปียก เพราะจะลื่นมากจากการที่น้ำไม่มีร่องให้แทรกตัว และสะบัดออกจากหน้ายาง กลายเป็นหน้ายางหมุนอยู่บนฟิล์มน้ำบาง ๆ

ในการใช้งานทั่วไป เมื่อร่องยางเหลือตื้นมาก ดอกยางสึกจนถึงตัวนูนลึกสุดของร่องยาง ก็ควรจะเปลี่ยนออก เพราะถึงจะเกาะถนนแห้งได้ดี แต่ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรฝนจะตกหรือต้องลุยน้ำ
แค่เล็บจิก คงตัดสินใจความนิ่มความแข็งด้วยความรู้สึกได้ยาก และไม่มีมาตรฐานจะเปรียบเทียบได้ว่าขนาดไหนคือนิ่ม เกือบแข็ง หรือแข็ง อีกทั้งถ้าลงมือจิกต่างเวลากันมาก ๆ ก็อาจจะจำความรู้สึกนั้นไม่ได้

ในทางวิชาการแล้ว ต้องสามารถแสดงผลการวัดได้ว่า เนื้อยางถูกจิกหรือกดได้ง่ายเพียงใด ถึงจะเรียกว่านิ่มหรือแข็ง จึงมีการคิดค้นมาตรวัดขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือแทนแรงคนในการจิก และแสดงค่าแทน ความรู้สึกบนพื้นฐานของหลักการเดียวกัน คือ ใช้เครื่องมือจิกหรือกดบนเนื้อยาง โดยมีขนาดของหัวที่กดลงไปตายตัว ไม่ใช่ใช้เล็บแต่ละนิ้วที่ต่างขนาดต่างรูปทรง อีกทั้งเล็บบางนิ้วยังมีทรงโค้งทื่อ ๆ ซึ่งจะจิกยากกว่าเล็บคมทรงแหลมที่เพิ่งตัดมาใหม่ ๆ อีกทั้งแรงจิกของคนก็ไม่แน่นอน
เครื่องมือชนิดนี้ใช้สปริงอยู่ตรงกลาง ปลายด้านหนึ่งต่อเข้ากับหัวจิก และอีกด้านหนึ่งดันกับมาตรวัดแสดงผล ส่วนความลึกของการจิกที่อิสระก็เปลี่ยนมาเนปลอกหรือบ่าตายตัวอยู่รอบหัวที่กดลงไป

เมื่อกดหัวจิกของมาตรวัดลงไปจนสุดขอบนอกแล้ว สปริงก็จะดันให้หัวจิก (ไว้กลาง) ที่กดลงไปในเนื้อยาง มีผลต่อการแสดงผล ถ้าหัวจิกลงไปแทบไม่ได้เลย สปริงย่อมถูกดันหดขึ้นมาสั้นกว่ากรณ๊ที่หัววัดจิกลงไปในเนื้อยางได้ลึกกว่า

ความยาวและการดีดตัวของสปริง ถูกแปลงออกมาเป็นผลที่แสดงบนมาตรวัด ส่วนใหญ่มักจะแบ่งเป็น 100 หน่วย โดยไม่ได้มีการสรุปว่าจะเป็นหน่วยของอะไร เพราะมาตรวัดชนิดนี้อาจถูกนำไปใช้ในหลายแวดวง เช่น นำไปวัดความแข็งของวัสดุเนื้อแข็ง เช่น ยางหรือวัสดุเนื้อนิ่มหน่อย ขนาดฟองน้ำ รองเท้าแตะ ฯลฯ

ดังนั้น การเปรียบเทียบ ก็ต้องดูกันที่ผลที่วัดได้ในวัสดุกลุ่มเดียวกัน เช่น วัดความนิ่มของหน้ายางรถยนต์แต่ละรุ่นก็ต้องเทียบกันเอง จะนำค่าไปเทียบกับวัสดุอื่นไม่ได้
นอกจากนั้น หากมีการนำไปใช้ต่างวัสดุออกไป ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปทรงของหัวที่จะถูกกดลงไป รวมถึงความแข็งของสปริงที่ดันอยู่ด้วย เพื่อความเหมาะสมในการวัด เช่น จะวัดวัสดุเนื้อแข็ง ก็อาจทำให้หัวแหลมมาก และใช้สปริงแข็ง เพราะถ้าเป็นหัวทู่ ๆ และสปริงอ่อน วัดกี่ครั้งก็คงเท่ากัน เพราะหัววัดจิกลงไปไม่ได้เลยหดตัวจนสุดขอบนอกทุกครั้ง เท่ากับเนื้อวัสดุไม่มีความนิ่มเลย การวัดเปรียบเทียบกัน จึงควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสมทั้งขนาดของหัวจิก และความแข็งของสปริง โดยนำผลที่วัดได้เปรียบเทียบกันเฉพาะในกลุ่มวัสดุเดียวกัน เช่น วัดยางรถยนต์ก็เทียบกันเองว่ายางเส้นใดเนื้อนิ่ม วัดออกมาได้ค่าเท่าไร ไม่ใช่นำไปวัดเปรียบเทียบกับเนื้อไม้

มาตรวัดชนิดนี้เรียกกันว่า DUROMETER คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคย เพราะมักใช้กันในกลุ่มผู้ผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงบางทีมแข่งรถยนต์ และจักรยานยนต์เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นแบบอนาลอก กลไกล้วน ๆ แสดงผลด้วยเข็ม มีราคาจำหน่ายตัวละกว่า 4,000 บาท ในต่างประเทศ หลายรุ่นแพงระดับหมื่นบาท แล้วแต่ความละเอียด ความแม่นยำ และความทนทาน ดูราคาแล้ว บางคนอาจคิดว่าไม่แพง คนทั่วไปมีเงินซื้อก็ไม่ยาก จึงน่าจะแพร่หลาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ซื้อมาก็ไม่ได้ใช้บ่อย ต่อให้แก่ 2,000 บาท ก็ยังไม่มีใครสนใจ
นอกจากนั้น ยังเป็นเพราะคนส่วนใหญ่มองข้ามความนิ่มของเนื้อยางว่า มีผลต่อการสร้างแรงเสียดทานกับพื้นถนน บางคนแค่เอาเล็บจิกยังไม่เคยทำเลย ดูแต่ตาเท่านั้นว่าดอกยางหมดหรือยัง แตกลายงาหรือไม่ ด้วยความที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ ร้านยางหลายพันร้านทั่วประเทศไทย ก็แทบไม่มีร้านใดซื้อมิเตอร์นี้มาใช้ บางร้านยังไม่รู้จักเลย

DUROMETER ส่วนใหญ่ทำงานด้วยระบบกลไกล้วน ๆ แต่ในระยะหลังมานี้ ก็เริ่มมีการผลิตแบบแสดงผลด้วยดิจิตอลออกมาด้วย โดยนำแรงดันของสปริงที่เกิดขึ้นไปแปลงค่าเพื่อแสดงผลออกมา มีความละเอียด และซับซ้อนในการทำงานมากกว่า จึงมีราคาแพงกว่า เท่าที่พบตัวละเกิน 8,000 บาททั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็นมาตรวัดความแข็งแบบอนาล็อกหรือดิจิตอล เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว ก็ควรจะนำไปปรับตั้งค่ามาตรฐานรวมทั้งตรวจสอบสภาพการสึกหรอของหัวจิก และความแข็งของสปริงอยู่เสมอ

เรื่องการเกาะถนนของยางรถยนต์(เรื่องดอกยางรถ)


ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

รวมเรื่องของเบรกและการก้ปัญหาที่ควรทราบ

รวมเรื่องของเบรกและการก้ปัญหาที่ควรทราบ
เรื่องของเบรกที่ควรทราบ
รถยนต์ ไม่เพียงแต่ต้องพัฒนาให้แรงเร็วและดูแลให้ทะยานไปได้เท่านั้น ระบบเบรกก็ต้องเยี่ยมและได้รับการดูแลควบคู่กันเสมอ แล่นได้ก็ต้องหยุดได้ ! ระบบเบรก-BRAKE หรือห้ามล้อ มีหน้าที่ชะลอความเร็วหรือหยุดรถยนต์ตามการสั่งงานของผู้ขับ โดยมีพื้นฐาน คือ สร้างแรงเสียดทานด้วยผ้าเบรก ซึ่งกดเข้ากับจานหรือดุมเบรกที่หมุนตามล้อ

เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว ในยุคที่รถยนต์เพิ่งถือกำเนิดขึ้น การสั่งให้ผ้าเบรกกดหรือคลาย เป็นการใช้ระบบกลไก เช่น ก้านโยกหรือสลิง คล้ายระบบเบรกของจักรยาน ซึ่งสะดวกในการออกแบบและทำงาน แต่ขาดความแม่นยำในการควบคุมจากผู้ขับ เช่น สลิงยืดหรือต้องปรับตั้งบ่อย

ต่อมาจึงใช้ของเหลวในการถ่ายทอดการสั่งงานจากผู้ขับไปยังการกดผ้าเบรก ซึ่งกลายเป็นระบบเบรกพื้นฐานมาจนถึงทุกวันนี้ แล้วจึงพัฒนาส่วนปลีกย่อยกันออกไป แต่ไม่ว่าจะมีรายละเอียดของอุปกรณ์อย่างไร ก็ยังใช้การถ่ายทอดด้วยของเหลวคือน้ำมันเบรกเป็นหลัก

หลักการถ่ายทอดการควบคุมด้วยน้ำมันเบรก จากการกดเท้าลงบนแป้นเบรก เพื่อสั่งให้ผ้าเบรกขยับตัวกดจานหรือดุมเบรก เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ คือ นำกระบอกเข็มฉีดยามา 2 อัน ดูดน้ำไว้ทั้ง 2 กระบอก แล้วต่อท่อยางขนาดเล็กที่บรรจุน้ำไว้เต็มเข้ากับหัวของกระบอกฉีดยาทั้ง 2 น้ำทั้งหมดก็กลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อกดแกนของกระบอกฉีดยาด้านหนึ่งเข้าไป (เสมือนมีการกดแป้นเบรกที่ต่ออยู่กับแม่ปั๊มด้านบน) น้ำก็จะถูกไล่ผ่านท่อยางขนาดเล็ก ทำให้แกนของกระบอกฉีดยาอีกตัวหนึ่งดันออก เสมือนกระบอกเบรกที่ล้อดันผ้าเบรกออกไป จะเห็นว่าของเหลวในระบบต้องไม่มีการรั่วซึม ลูกยางรีดในกระบอกต้องกักน้ำได้ และไม่มีอากาศปะปนในระบบ การถ่ายเทแรงดันจึงจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์

พื้นฐานของระบบเบรก
ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก คือ แม่ปั๊มบน- ตัวสร้างแรงดัน, ท่อโลหะและท่ออ่อน, กระบอกเบรกที่ล้ออย่างน้อยล้อละ 1 กระบอก ผ้าเบรก และจานเบรก (ดิสก์) หรือดุมเบรก (ดรัม)

จากนั้นจึงมีการพัฒนาเสริมอุปกรณ์อื่นเข้ามา เช่น แม่ปั๊มบนตัวเดียวแต่แบ่งเป็น 2 วงจรภายใน เป็นล้อหน้า-หลัง หรือทแยงหน้าซ้าย-หลังขวา หน้าขวา-หลังซ้าย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยเมื่อระบบย่อยหนึ่งบกพร่อง จะได้ยังเหลือแรงเบรกอยู่บ้าง, หม้อลมเบรก ช่วยผ่อนแรงในการกดแป้นเบรก โดยการใช้แรงดูดสุญญากาศที่ได้จากท่อไอดีของเครื่องยนต์ มีหลายขนาด เล็กหรือใหญ่ไปก็ไม่ดี, วาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ติดตั้งต่อจากแม่ปั๊มเบรกตัวบน ก่อนที่น้ำมันเบรกจะถูกส่งไปยังล้อต่างๆ ช่วยให้แรงดันน้ำมันเบรกกระจายไปอย่างเหมาะสม, เพิ่มจำนวนกระบอกเบรกเพื่อเพิ่มแรงกดที่ผ้าเบรก, เพิ่มขนาดจาน-ดุมเบรก พร้อมเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกให้สามารถสร้างแรงเสียดทานได้มากขึ้น, เอบีเอส ป้องกันการล็อกของล้อ ฯลฯ

แม่ปั๊มเบรก
ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกเมื่อมีผู้ขับกดแป้นเบรก ส่วนใหญ่ติดตั้งไว้กับหม้อลมเบรก ภายในประกอบด้วยลูกยางหลายลูกและสปริง โดยจะคืนตัวเองเมื่อไม่มีการกดแป้นเบรก อาการการเสีย คือ ไม่สามารถสร้างแรงดันได้จากลูกยางที่หมดสภาพ ไม่สามารถดันรีดน้ำมันได้ หรือรั่วย้อนออกมา หรือเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวเสื้อกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางพร้อมชุดซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัว

หม้อลมเบรก
เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงกดแป้นเบรกให้เบาเท้าขึ้น กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถยนต์ยุคใหม่ไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันเบรก โดยใช้แรงดูดสุญญากาศจากท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์มาช่วยดันแผ่นยางไดอะเฟรมและแกนแม่ปั๊มตัวบนเมื่อมีการกดแป้นเบรก โดยประสิทธิภาพที่แท้จริงของระบบเบรกยังขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อื่น ไม่ใช่เฉพาะที่ตัวหม้อลม

ขนาดของหม้อลมต้องพอเหมาะ ขนาดเล็กไปก็หนักเท้าเหมือนเบรกไม่ค่อยอยู่ ขนาดใหญ่ไปก็เบาเท้า แต่แรงกดที่มากเกินไปในขณะที่อุปกรณ์อื่นยังเหมือนเดิม ก็อาจทำให้ล้อล็อกได้ง่ายเมื่อเบรกบนถนนลื่นหรือเบรกกะทันหัน

อาการการเสียที่พบบ่อย คือ ผ้ายางไดอะเฟรมภายในรั่ว เมื่อกดแป้นเบรกจะแข็ง และเครื่องยนต์จะสั่นเหมือนอาการท่อไอดีรั่ว ทดสอบโดยกดแป้นเบรกในขณะจอดและติดเครื่องยนต์เดินเบาไว้ ถ้าหม้อลมปกติ การเหยียบเบรกเมื่อติดเครื่องยนต์แล้วจะเบาเท้ากว่า

ถ้าหม้อลมรั่วแต่แม่ปั๊มตัวบนดี ยังสามารถใช้ระบบเบรกตามปกติได้ แต่จะหนักเท้าในการกดแป้นเบรกเท่านั้นการซ่อมหม้อลมบางรุ่นมีอะไหล่ให้เปลี่ยนเฉพาะผ้ายางไดอะเฟรมพร้อมชุดซ่อม แต่ส่วนใหญ่มักต้องเปลี่ยนทั้งลูก ซึ่งมี 2 ทางเลือกทั้งของใหม่และเก่าเชียงกง

ท่อน้ำมันเบรก
ประกอบด้วยท่อโลหะขนาดเล็ก ทำจากเหล็กหรือทองแดง แล้วมีท่ออ่อนที่ให้ตัวได้ ต่อจากท่อโลหะบนตัวถังไปยังชุดเบรกล้อที่ขยับตลอดเวลาที่ขับอาการเสีย คือ ท่ออ่อนบวมหรือรั่ว

ส่วนท่อโลหะนั้นแทบไม่พบว่าเสียเลย ท่ออ่อนทั่วไปผลิตจากยางทนแรงดันสูง ทนทานเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติ แต่ก็มีแบบพิเศษที่นิยมใช้ในรถแข่งมาจำหน่าย เป็นแบบท่อหุ้มสเตนเลสถัก ซึ่งทนทั้งการฉีกขาดจากการกระแทกภายนอกหรือแตกด้วยแรงดันจากภายใน ซึ่งไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าอยากจะใส่ก็ไม่มีอะไรเสียหาย และอาจลดอาการหยุ่นเท้าให้การตอบสนองรวดเร็วขึ้นเล็กน้อย ถ้าท่ออ่อนเดิมขยายตัวได้บ้างเมื่อกดเบรก

กระบอกเบรกที่ล้อ
ทำหน้าที่รับแรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกดันมา เพื่อดันลูกสูบเบรกภายในกระบอกแล้วไปกดผ้าเบรก ขนาดและจำนวนลูกสูบมีผลต่อแรงกดของผ้าเบรกมีอย่างน้อย 1 กระบอก 1 ลูกสูบ (POT) ต่อ 1 ล้อ ภายในประกอบด้วยลูกสูบพร้อมลูกยางหรืออาจมีสปริงด้วย การมีขนาดของกระบอกเบรกใหญ่หรือจำนวนกระบอกเบรกต่อ 1 ล้อมากๆ (2-4 POT) จะทำให้มีแรงกดไปสู่ผ้าเบรกมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้แม่ปั๊มตัวบนที่รองรับกันได้ดีด้วย

รถยนต์ญี่ปุ่นหรือรถยนต์ขนาดเล็ก-กลาง มักใช้คาลิเปอร์ดิสก์เบรกแบบลูกสูบเดี่ยว 1 POT หรือเรียกว่า SLIDING CALIPER โดยที่รถยนต์ขนาดกลางส่วนใหญ่มักใช้คาลิเปอร์แบบ 2 POT ลูกสูบคู่ประกบซ้าย-ขวาคร่อมจานดิสก์เบรก และรถยนต์ขนาดใหญ่ อาจใช้คาลิเปอร์แบบ 4 POT ในชุดดิสก์เบรกล้อหน้าอาการเสีย คือ ลูกยางหมดสภาพ ไม่สามารถดันลูกสูบเบรกออกไปได้เต็มที่หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมออกมา และเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางและชุดซ่อม หรือเปลี่ยนทั้งตัว

ดิสก์/ดรัม
เป็นชุดเบรกที่ล้อ คือ อุปกรณ์ชิ้นที่หมุนพร้อมล้อและรับแรงกดจากผ้าเบรก ผลิตจากวัสดุเนื้อแข็ง เรียบแต่ไม่ลื่น เพื่อให้ผ้าเบรกกดอยู่ได้ ทนความร้อนสูง และไม่สึกหรอง่าย

ดิสก์/ดรัม มีจุดเด่นและด้อยต่างกัน
พื้นฐานดั้งเดิมของรถยนต์ส่วนใหญ่เมื่อหลายสิบปีก่อน นิยมใช้แบบดรัม-DRUM หรือแบบดุมครอบ ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้แบบดิสก์-DISC หรือแบบจาน เพราะความเหนือชั้นในประสิทธิภาพ แล้วก็ยังพัฒนาตัวดิสก์และอุปกรณ์อื่นให้ดีขึ้นไปอีก

ดรัมเบรก มีลักษณะเป็นฝาครอบทรงกลม มีผ้าเบรกโค้งแบนเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลมติดตั้งภายในตัวดรัม ถ้ามองจากภายนอกทะลุกระทะล้อเข้าไปจะเห็นเป็นฝาครอบโลหะทรงทึบ โดยไม่เห็นหน้าสัมผัสและชุดผ้าเบรกที่ถูกครอบไว้ เมื่อมีการเบรก ผ้าเบรกจะเบ่งออกไปดันกับด้านในของตัวดรัม โดยเปรียบเทียบง่ายๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก ยืดแขนออกไปแล้วมีผ้าเบรกติดอยู่ที่ฝ่ามือ มีฝาครอบหมุนอยู่ เมื่อมีการเบรกก็ยืดแขนดันฝ่ามือออกไปให้ฝาครอบหมุนช้าลง

ดรัมเบรกมีจุดเด่นคือ ต้นทุนต่ำ, ทนทาน และมีพื้นที่ของผ้าเบรกมาก แต่มีจุดด้อยคือ กำจัดฝุ่นออกจากตัวเองได้ไม่ดีและอมความร้อน เพราะเป็นเสมือนฝาครอบอยู่ ซึ่งจะทำให้แรงเสียดทานของผ้าเบรกลดลงหรือผ้าเบรกไหม้ และเมื่อใช้งานไปสักพัก หน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับดรัมอาจไม่แนบสนิทนัก ต้องตั้งระยะห่างบ่อย หรือแม้แต่มีการปรับตั้งโดยอัตโนมัติก็อาจยังไม่สนิทกันนัก จนขาดความฉับไวในการทำงาน มีผ้าเบรกให้เลือกน้อยรุ่นน้อยยี่ห้อ และเมื่อลุยน้ำจะไล่น้ำออกจากดรัมและผ้าเบรกได้ช้า

ดิสก์เบรก มีลักษณะเป็นจานแบนกลม มีผ้าเบรกแผ่นแบนติดตั้งอยู่รวมกับชุดก้ามเบรก (คาลิเปอร์) แล้วเสียบคร่อมประกบจานเบรก ถ้ามองจากภายนอกทะลุกระทะล้อเข้าไปจะเห็นเป็นจานโลหะเงา เพราะถูกผ้าเบรกถูทุกครั้งที่เบรก และมีชุดก้ามเบรกคร่อมอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเบรกจะมีการบีบผ้าเบรกเข้าหาตัวดิสก์ ต่างจากแบบดรัมที่เบ่งตัวผ้าเบรกออก โดยเปรียบเทียบง่ายๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก มีผ้าเบรกอยู่ที่ฝ่ามือ ทำแขนเหมือนกำลังยกมือไหว้แต่ไม่ชิดสนิทกัน มีแผ่นกลมหมุนแทรกอยู่ระหว่างมือ เมื่อมีการเบรกก็ประกบฝ่ามือเข้าหากัน

ดิสก์เบรกมีจุดเด่น คือ ประสิทธิภาพสูง แม้มีพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรกน้อยกว่าแบบดรัมในขนาดดิสก์หรือดรัมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน ทำงานฉับไว ควบคุมระยะห่างและหน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับตัวดิสก์ได้ดีโดยไม่ต้องปรับตั้ง ไม่อมฝุ่นเพราะทำความสะอาดตัวเองได้ดี ไล่น้ำออกจากตัวดิสก์และผ้าเบรกได้เร็ว

แต่มีจุดด้อยที่ไม่สามารถนับเป็นจุดด้อยได้เต็มที่นัก คือ ต้นทุนสูงและผ้าเบรกหมดเร็ว โดยมีรายละเอียดย่อยออกไปอีก เช่น มีการพัฒนาการระบายความร้อน เพราะยิ่งผ้าเบรกหรือตัวดิสก์ร้อน ก็ยิ่งมีแรงเสียดทานต่ำลงหรือผ้าเบรกไหม้ ด้วยการทำให้พื้นที่ของจานเบรกสัมผัสกับอากาศมีการถ่ายเทกันมากขึ้น โดยการผลิตเป็นจานหนา มีร่องระบายความร้อนแทรกอยู่ตรงกลาง เสมือนมีจาน 2 ชิ้นมาประกบไว้ห่างๆ กันและมีครีบถี่ๆ ยึด

รถยนต์ในสายการผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบดิสก์แบบมีครีบระบายความร้อนในล้อหน้า เพราะเบรกหน้ารับภาระในการเบรกมากกว่า ส่วนการเจาะรู และเซาะร่อง มักนิยมในกลุ่มรถยนต์ตกแต่งหรือรถแข่ง เพราะระบายความร้อนได้ดี สร้างแรงเสียดทานได้สูงแต่กินผ้าเบรก และแค่มีครีบระบายก็เพียงพออยู่แล้ว

ส่วนการขยายขนาดของดิสก์เบรกให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรก เพราะสามารถเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกพร้อมกับใช้คาลิเปอร์-ก้ามเบรกให้ใหญ่ขึ้นได้ และมีการระบายความร้อนดีขึ้นจากพื้นที่สัมผัสอากาศที่มากขึ้น นับเป็นหลักการที่เป็นจริง แต่ในการใช้งานมักมีขีดจำกัดที่ตัวดิสก์และก้ามเบรกต้องไม่ติดกับวงในของกระทะล้อ รถแข่งหรือรถยนต์ที่ใช้กระทะล้อใหญ่ๆ จึงจะเลือกใช้วิธีขยายขนาดของดิสก์เบรกนี้ได้

นับเป็นเรื่องปกติที่ระบบดิสก์เบรกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับระบบดรัมเบรก ทั้งที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรกน้อยกว่า แต่ด้วยจุดเด่นข้างต้น ดิสก์เบรกจะให้ประสิทธิภาพในการเบรกสูงกว่าดรัมเบรก ตัวดิสก์และดรัมเบรก ผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งกว่าผ้าเบรกเพื่อความทนทาน แต่ก็ยังมีการสึกหรอจนไม่เรียบขึ้นได้ เพราะผ้าเบรกก็มีความแข็งพอสมควร จึงกัดกร่อนตัวดิสก์หรือดรัมเบรกได้
เมื่อผ้าเบรกหมด ถ้าหน้าสัมผัสของดิสก์หรือดรัมเบรกไม่เรียบก็จะทำให้ผ้าเบรกสัมผัสได้ไม่สนิท แต่ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่าต้องเจียร์เรียบตัวดิสก์หรือดรัมเบรกทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรกตามสไตล์ช่างไทยที่ต้องการเงินเพิ่ม เพราะต้องดูว่ายังเรียบพอไหม ถ้าเป็นรอยมากจนลึกเข้าไปค่อยเจียร์ เพราะดิสก์หรือดรัมเบรกมีขีดจำกัดในแต่ละรุ่นว่าต้องไม่บางเกินกำหนด เจียร์มากๆ ก็เปลือง เพราะต้องเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้น
การเจียร์จานดิสก์เบรก มี 2 วิธีหลัก คือ ถอดออกมาเจียร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป และเจียร์ในรถยนต์ด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่ต้องถอดออกมา ซึ่งมีข้ออ้างว่าดีกว่าการถอดออกมาเจียร์ เพราะไม่ต้องถอด-ใส่ให้อุปกรณ์ต่างๆ ช้ำและรวดเร็ว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการเจียร์โดยไม่ต้องถอด เหมาะสำหรับประเทศที่มีค่าแรงแพง และถ้าลูกปืนล้อนั้นมีสภาพไม่ปกติก็เจียร์ได้ไม่เรียบ เพราะฉะนั้นถ้าดิสก์เบรกถอดไม่ยากจนเกินไป ควรเลือกใช้วิธีถอดออกมาเจียร์ดีกว่า

การเลือกติดตั้งระบบเบรกในแต่ละล้อมีหลักการพื้นฐานคือ ประสิทธิภาพของระบบเบรกล้อคู่หน้าต้องดีกว่าล้อคู่หลังเสมอ เพราะเมื่อมีการเบรกน้ำหนักจะถ่ายลงด้านหน้า ล้อหลังจะมีน้ำหนักกดลงน้อยกว่า ระบบเบรกหน้าจึงต้องทำงานได้ดีกว่า มิฉะนั้นเมื่อกดเบรกแรงๆ หรือเบรกบนถนนลื่น อาจจะเกิดการปัดเป๋หรือหมุนได้ เสมือนเป็นการดึงเบรกมือ ดังนั้นถ้าอยากจะตกแต่งระบบเบรกเพิ่มเติมก็ต้องเน้นว่า ประสิทธิภาพของเบรกหลังต้องไม่ดีกว่าเบรกหน้า กลุ่มที่เปลี่ยนเฉพาะจากดรัมเบรกหลังเป็นดิสก์ โดยไม่ยุ่งกับดิสก์เบรกหน้าเดิม ต้องระวังไว้ด้วย

รถยนต์ในอดีตเลือกติดตั้งระบบดรัมเบรกทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงพัฒนามาสู่ดิสก์เบรกหน้า-ดรัมเบรกหลัง และสูงสุดที่ดิสก์เบรก 4 ล้อ แต่ก็ยังยึดพื้นฐานเดิมคือ เบรกหน้าต้องดีกว่าเบรกหลังเสมอ แม้จะเป็นดิสก์เบรกทั้งหมด แต่ดิสก์เบรกหน้ามักมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน มีผ้าเบรกขนาดใหญ่ และมีแรงกดมากๆ จากกระบอกเบรกขนาดใหญ่ โดยดิสก์เบรกหลังมักจะเป็นขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีครีบระบาย มีผ้าเบรกขนาดไม่ใหญ่ และมีแรงกดไม่มากจากกระบอกเบรกขนาดเล็ก เพื่อไม่ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเบรกหน้า
เรื่องของเบรกที่ควรทราบ ผ้าเบรก คุณเลือกได้
ผ้าเบรกเป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทาน โดยการกดเข้ากับดิสก์หรือดรัมเบรก มีพื้นฐาน คือ เนื้อวัสดุของตัวดิสก์หรือดรัมเบรกต้องแข็งเพื่อไม่ให้สึกหรอเร็ว แต่ต้องมีผิวไม่ลื่น ส่วนผ้าเบรกต้องมีเนื้อนิ่มกว่าตัวดิสก์หรือดรัม เพื่อให้มีแรงเสียดทานสูงและสึกหรอมากกว่า เพราะเปลี่ยนได้ง่าย โดยมีการผลิตขึ้นจากวัสดุผสมหลายอย่าง และอาจผสมกับโลหะเนื้อนิ่ม เพื่อให้เบรกในช่วงความเร็วสูงได้ดี
ในอดีตใช้แร่ใยหินแอสเบสตอสเป็นวัสดุหลักของผ้าเบรก เมื่อผ้าเบรกสึกจะเป็นผงสีขาว ไม่เกาะกระทะล้อ แต่สร้างมลพิษในอากาศ ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกรไฟต์-คาร์บอนแทน เมื่อผ้าเบรกสึกจะมีผงสีดำออกมาเกาะเป็นคราบ ดูสกปรกแต่ไม่อันตราย
ผ้าเบรกมีหลายระดับประสิทธิภาพและความแข็ง ด้วยหลักการง่ายๆ คือ ยิ่งนิ่มยิ่งสร้างแรงเสียดทานได้ง่าย แต่ไม่ทนความร้อน อาจลื่นหรือไหม้ในการเบรกบ่อยๆ หรือเบรกในช่วงความเร็วสูง และยิ่งแข็งยิ่งทนร้อน เบรกดีในช่วงความเร็วสูง แต่ต้องการการอุ่นให้ร้อนก่อน หรือเบรกช่วงความเร็วต่ำไม่ค่อยอยู่ จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการขับและสมรรถนะของรถยนต์
ผ้าเบรกเป็นอีกอุปกรณ์หนึ่ง ถ้าเดิมใช้งานแล้วไม่พึงพอใจ ก็สามารถเลือกให้แตกต่างจากผ้าเบรกมาตรฐานเดิมได้ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่มักเลือกผ้าเบรกเนื้อนิ่ม เพื่อรองรับการใช้งานปกติในความเร็วต่ำ-ปานกลาง ผู้ผลิตผ้าเบรกที่เชี่ยวชาญและมีผ้าเบรกหลายรุ่นให้เลือก เช่น FERODO, BENDIX, ABEX, AKEBONO, METALIX, REBESTOS ฯลฯ

เกรดประสิทธิภาพผ้าเบรก
มีหลายระดับ แบ่งตามการทนความร้อน เพราะการสร้างแรงเสียดทานในการเบรกต้องมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อผ้าเบรกร้อนเกินขีดจำกัด ประสิทธิภาพจะลดลง ลื่นหรือไหม้การเลือกต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสมรรถนะของรถยนต์

เกรดมาตรฐาน S-STANDARD
ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ยกเว้นรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถสปอร์ต ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกสร้างความฝืดได้ง่าย เนื้อผ้าเบรกนิ่ม สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง หรือในขณะที่มีความร้อนสะสมไม่สูงนัก แต่อาจลื่นหรือไหม้ได้ง่ายเมื่อต้องเบรกบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง หรือเบรกในช่วงความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรด S เพราะส่วนใหญ่ยังต้องมีการใช้งานในเมือง หรือมีการใช้ความเร็วไม่จัดจ้านนัก แม้จะขับเร็วบ้างหรือกระแทกเบรกแรงๆ บ้าง แต่ก็ไม่บ่อย จึงถือว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง

เกรดกลาง M-MEDIUM-METAL
รองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี เพิ่มความทนทานต่อความร้อนโดยตรง และความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าผ้าเบรกเกรด S แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดี เพราะเนื้อผ้าเบรกยังไม่แข็งเกินไป ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อนส่วนมากจะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้อนสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง เนื้อของผ้าเบรกอาจเป็นสีเงาจากผงโลหะที่ผสมอยู่รถยนต์ทั่วไป

ถ้าผู้ขับเท้าขวาหนัก แม้ไม่ได้ตกแต่งเครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์มีพลังแรงสักหน่อย ก็สามารถเลือกใช้ผ้าเบรกเกรด M แทนเกรด S เดิมได้ เพราะยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบและทุกช่วงความเร็ว โดยอาจมีจุดด้อยด้านประสิทธิภาพการเบรกในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ใน 2-3 ครั้งแรก และมีราคาแพงกว่าผ้าเบรกเกรด S เพียง 20-50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เกรดกึ่งแข่ง R-RACING
เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูงจัดจ้าน-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ๆ และรุนแรง เนื้อของผ้าเบรกเกรดนี้มักมีการผสมผงเนื้อโลหะไว้มาก บางรุ่นเกือบจะเป็นโลหะอ่อน เช่น เป็นทองแดงผสมเกือบทั้งชิ้นการใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจำเป็นต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน และเบรกหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรกเนื้อนิ่มเกรด S-M ส่วนในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นหรือไหม้ยาก

ผ้าเบรกเกรดนี้ไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นรถสปอร์ตหรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจัดจ้านจริงๆ เพราะไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยความเร็วต่ำ ซึ่งลื่นกว่าผ้าเบรกเกรด S อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าผ้าเบรกเกรด S-M ไม่น้อยกว่า 3-5 เท่าด้วย
ในการจำหน่ายจริงมักไม่มีการแบ่งผ้าเบรกเป็นเกรด S-M-R อย่างชัดเจนไว้บนข้างกล่อง ในการเลือกใช้จึงต้องเลือกด้วยการสอบถามระดับของผ้าเบรกในยี่ห้อที่สนใจ ซึ่งมักระบุเพียงว่าผ้าเบรกรุ่นนั้นทนความร้อนสูงกว่าอีกรุ่นหนึ่งในยี่ห้อเดียวกันหรือไม่ หรือดูช่วงตัวเลขของค่าความร้อนที่ผ้าเบรกชุดนั้นสามารถทำงานได้ดี เช่น ผ้าเบรกเกรด S-M ทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-20 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่ผ้าเบรกเกรด R มักมีค่าความร้อนเริ่มต้นที่ 50-100 องศาเซลเซียสขึ้นไป อันหมายถึงการใช้งานในช่วงความร้อนต่ำไม่ดีหรือต้องอุ่นผ้าเบรกก่อนนั่นเอง

ควรเลือกเกรดผ้าเบรกให้ตรงลักษณะการใช้งานอย่างรอบคอบ และโดยทั่วไปเกรด M น่าสนใจที่สุด เพราะคงประสิทธิภาพการเบรกช่วงความเร็วต่ำไว้ใกล้เคียงกับเกรด S แต่รองรับความเร็วสูงได้ดีกว่า และราคาไม่แพง ราคามาตรฐานของผ้าดิสก์เบรก 2 ล้อ (4 ชิ้น) เมื่อซื้อนอกศูนย์บริการ เกรด S-M สำหรับรถยนต์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ซิตี้คาร์ยันรถสุดหรู ไม่แตกต่างกันมากนัก 800-2,000 บาท คือ ราคาพื้นฐาน ส่วนดรัมเบรก 2 ล้อ ไม่น่าเกิน 1,000 บาท

การเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกส่วนใหญ่จะเปลี่ยนทั้งชิ้น ไม่ใช่เอาแผ่นเก่าไปลอกและย้ำเฉพาะตัวผ้าเบรกเข้าไปใหม่ แต่ผ้าดรัมเบรก มี 2 ทางเลือก เปลี่ยนทั้งชิ้นฝักเบรกพร้อมผ้าเบรกใหม่ทั้งอันเลย กับนำฝักเบรกเดิมไปลอกผ้าเบรกออก แล้วย้ำหรืออัดผ้าเบรกใหม่เข้าไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีหลังกับผ้าดรัมเบรก
น้ำมันเบรก
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงดันจากแม่ปั๊มตัวบนไปยังกระบอกเบรกทุกล้อ ผลิตจากน้ำมันแร่ สาเหตุที่ไม่ใช้น้ำเปล่าเพราะมีความชื้น เกิดสนิมในระบบได้ง่ายและมีจุดเดือดต่ำ ถ้าของเหลวในระบบเบรกร้อนจัด ก็จะเดือดจนเกิดอาการ VAPOUR LOCK กลายเป็นไอแต่ไม่มีทางออก อยู่แต่ในท่อและพยายามจะดันออก ไม่สามารถถ่ายเทแรงดันได้ตามปกติ

มาตรฐานของน้ำมันเบรก แบ่งตามจุดเดือดและจุดเดือดชื้น สาเหตุที่ต้องมี 2 จุดเดือด เพราะในการใช้งานจริง ต้องมีความชื้นจากอากาศและการลุยน้ำแทรกเข้ามาผสมในน้ำมันเบรก จนมีจุดเดือดต่ำลงเรื่อยๆ โดยมีการแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเบรกด้วยตัวอักษรย่อ DOT แล้วตามด้วยตัวเลขเดี่ยว ระบุไว้ข้างกระป๋อง เช่น DOT3, DOT4 มีจุดเดือดและจุดเดือดชื้นสูงสุดในการใช้งานที่ DOT5
รถยนต์ทั่วไปกำหนดใช้น้ำมันเบรก DOT3-4 แต่ถ้าจะใช้ DOT4 ไว้ก็ดี เพราะไม่มีผลเสียใดๆนอกจากราคาของน้ำมันเบรกที่แพงกว่ากันไม่มาก ส่วน DOT5 นั้นสูงเกินกว่าการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าคิดว่าระบบเบรกรถยนต์ของตนร้อนมากๆ ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ DOT5 ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าตัวน้ำมันเบรกไม่มีการกัดกร่อนลูกยางเบรก เพราะในบางกระแสบอกว่า ถ้าระบบเบรกเดิมกำหนดให้ใช้แค่ DOT3-4 ถ้าเปลี่ยนไปใช้ DOT5 อาจมีปัญหานี้ขึ้นได้ จึงควรตรวจสอบให้ดีก่อนเลือกใช้

การใช้รถยนต์ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเติมผสมน้ำมันเบรกข้ามรุ่นข้ามยี่ห้อหรือข้าม DOT เพราะถ้าไม่เข้าห้องทดลองทางเคมี จะไม่สามารถทราบได้เลยว่าน้ำมันเบรกต่างรุ่นต่างยี่ห้อหรือต่าง DOT เมื่อผสมกันจะมีปฏิกิริยาทางลบต่อกันหรือไม่

ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกทั้งระบบทุก 1-1 ปีครึ่ง แม้ไม่มีการรั่วซึม เพราะจะเป็นการไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรกออกจากระบบ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย และจะได้ใช้น้ำมันเบรกจุดเดือดสูงๆ ต่อไป กรณีนี้มักถูกมองข้าม เพราะถือว่าน้ำมันเบรกยังไม่รั่ว ก็ไม่ต้องทำอะไร ทั้งที่ค่าใช้จ่ายไม่กี่ร้อยบาทและทำได้ตามร้านเบรกทั่วไป
การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเบรก
มีหลายวิธี หลากระดับ และหลายค่าใช้จ่าย โดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานเดิมและระดับของความต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเริ่มจากค่าใช้จ่ายต่ำและง่าย คือ เปลี่ยนผ้าเบรกเกรดสูงขึ้น จาก S เป็น M หรือจาก M เป็น R มีความสะดวก เปลี่ยนได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลงใดๆ แต่ต้องเลือกเกรดผ้าเบรกให้ตรงกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน

เปลี่ยนเฉพาะตัวดิสก์เบรก ขนาดเท่าเดิม แต่มีเนื้อวัสดุฝืดกว่าเดิม มักมีเฉพาะชุดแต่ง และไม่ครบในรถยนต์ทุกรุ่น
ขยายขนาดดิสก์เบรกพร้อมคาลิเปอร์-ก้ามเบรกชุดใหม่ มี 3 ทางเลือกหลัก คือ

1. ชุดแต่งชื่อดัง ถ้ามีตรงรุ่นก็แทบไม่ต้องดัดแปลง แต่แพง
2. ดัดแปลงจากรุ่นสูงกว่าในรถยนต์ยี่ห้อเดียวกัน และมักเป็นของเก่าเชียงกง ไม่แพงนัก เช่น นิสสัน 200เอสเอ็กซ์ นำชุดเบรกของสกายไลน์มาใส่ หรือโตโยต้า โซลูน่า นำชุดเบรกของ โคโรลล่า เลวินมาใส่ อาจมีการดัดแปลงบ้าง แต่ก็มักไม่ยาก
3. ดัดแปลงข้ามรุ่นกันเลย ยุ่งยาก แต่ไม่เกินความสามารถช่างไทย

ยกชุดมาจากรถยนต์รุ่นสูงกว่า คล้ายกับข้อ 2 ในหัวข้อที่แล้ว (ขยายขนาดดิสก์เบรกพร้อมคาลิเปอร์-ก้ามเบรกชุดใหม่) แต่เป็นการยกมาทั้งชุดดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมก้ามเบรก หม้อลมพร้อมแม่ปั๊ม อย่างนี้ไม่ต้องลุ้นอะไรมาก ประสิทธิภาพของเบรกดีขึ้นและล้อไม่ล็อกง่ายแน่
เปลี่ยนจากดรัมเบรกเป็นดิสก์เบรก มักมีการพุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนจากดรัมเบรกหลังในรถยนต์หลายรุ่น สามารถทำได้ แต่ต้องแน่ใจว่าถ้าทำเฉพาะเบรกหลังแล้วจะไม่ดีไปกว่าเบรกหน้าเดิม ถ้าไม่แน่ใจก็ควรหาวิธีทำให้เบรกหน้าดีขึ้นตามไปด้วย อย่าลืมความยุ่งยากในการดัดแปลงระบบเบรกมือล้อหลังไว้ด้วย

ขยายหม้อลม ถ้าไม่มีการเพิ่มขนาดชุดเบรกที่ล้อ ควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ไว้ เพราะหม้อลมใหญ่จะผ่อนแรงในการกดเบรกมากขึ้น ทำให้มีแรงกดที่ผ้าเบรกมากขึ้นในขณะที่ทุกอย่างยังคงเดิม การเบรกแรงๆ หรือเบรกบนถนนลื่น ล้ออาจล็อกจนปัดเป๋-หมุนได้ง่าย ถ้าอยากเพิ่มขนาดของหม้อลมจริงก็อย่าเพิ่มมาก หรือเปลี่ยนเมื่อมีการขยายขนาดกระบอกเบรกที่ล้อก่อน

เจาะรูดิสก์เบรกเดิมเองเพื่อช่วยระบายความร้อน ควรหลีกเลี่ยง เพราะรูที่เจาะต้องได้ตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ดิสก์เบรกสั่น และเสี่ยงต่อการร้าว


เพิ่มจำนวนหรือขนาดคาลิเปอร์-ก้ามเบรกในแต่ละล้อ ถ้าไม่แน่ใจว่าติดตั้งเข้าไปแล้วล้อจะล็อกง่ายก็ไม่ควรทำ เพราะจานเบรกขนาดเท่าเดิมจะร้อนง่าย แรงดันน้ำมันเบรกจากแม่ปั๊มอาจไม่สมดุลกัน เพราะต้องกระจายแรงดันน้ำมันเบรกต่างออกไปจากเดิม
เบรก นับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจะทำให้รถยนต์ทะยานไปได้ดังใจ แล่นได้แต่หยุดไม่ได้ก็แย่ !
รวมเรื่องของเบรกและการก้ปัญหาที่ควรทราบ


ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

ความรู้เกี่ยวกับเบาะนั่งภายในรถยนต์

ความรู้เกี่ยวกับเบาะนั่งภายในรถยนต์
เรื่องของเบาะ…ใครคิดว่าไม่สำคัญ
การปรับแต่งเกี่ยวกับเบาะนั่งภายในรถยนต์ เป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอ คิดแต่เพียงว่าไม่จำเป็นที่จะต้องปรับแต่งหรือเปลี่ยน เพราะมีใช้กันอยู่แล้วตั้งแต่วันแรกที่ซื้อรถมาใช้
เรื่องของเบาะในครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับเบาะคู่หน้าโดยเฉพาะ เพราะเป็นตำแหน่งที่ถูกใช้บ่อยที่สุด

ทุกคนมุ่งที่จะปรับแต่งส่วนประกอบอื่น ๆ แต่มองข้ามเบาะที่จะต้องถูกใช้งานทุกวินาที แม้แต่ตอนที่จะต้องนั่งรอสัญญาณไฟตามแยก จอดรถอยู่กับที่นั่งฟังเพลงก็ยังต้องนั่งอยู่บนเบาะ

เหตุผลที่คนไทยไม่สนใจปรับแต่งเบาะ
หลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นเพราะไม่เคยนั่งเบาะรถนอกที่ผลิตตามมาตรฐานระดับสูง หรือคิดว่าเบาะของรถรุ่นเดียวกัน ระหว่างเมืองไทยกับเมืองนอกจะเหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่ จริง ๆ แล้วไม่เหมือนกันเลย เนื่องจากในเมืองไทยมีการบังคับให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ เบาะก็ใช้ชิ้นส่วนหนึ่งที่ผลิตในประเทศ และถูกจำกัดต้นทุนการผลิต จนแตกต่างจากเบาะของรถรุ่นเดียวกันในต่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ หลายคนคิดว่าการเปลี่ยนเบาะจะต้องเสียเงินมาก

สองทางเลือกเรื่องเบาะ
1. ปรับแต่งเบาะเดิมตามร้านหุ้มเบาะทั่วไป – ข้อดีมีเพียงไม่ต้องดัดแปลงขายึดรางเลื่อนใหม่ ขณะที่ข้อเสียกลับมีมากมาย เช่น ฟองน้ำที่ติดเสริมทรงเข้าไป เป็นการเหลาตัดขึ้นรูป มิได้อัดหรือฉีดขึ้นรูปเหมือนในโรงงานผู้ผลิต ใช้ได้ไม่นานก็เสียทรง

ทรงของเบาะที่ปรับแต่งออกมานั้นมักไม่สวย เพราะเลียนแบบมาได้แค่คล้าย ๆ ตามแต่ฝีมือทางศิลปการเหลาฟองน้ำของช่าง ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้เลือกวิธีนี้ เพราะเสียเงินไม่คุ้มค่ากับผลงานที่ได้มา ค่าใช้จ่ายที่ปรับแต่งเบาะเดิมให้ดีพอ ๆ กับของเก่านอกหรือเชียงกง นั้นพอ ๆ หรือแพงกว่าด้วยซ้ำไป

2. เปลี่ยนเบาะใหม่ – มี 2 ทางเลือก ได้แก่ แบบปรับเอนไม่ได้ และปรับเอนได้
2.1 เบาะชนิดปรับเอนไม่ได้
เป็นเบาะที่ใช้สำหรับรถแข่งในสนามโดยเฉพาะ ไม่สามารถปรับเอนได้ แต่เลื่อนเดินหน้าถอยหลังได้ (ติดบนรางเลื่อนเดิม) มักจะเรียกกันว่า “เบาะซิ่ง” แม้จะเป็นเบาะสำหรับรถแข่ง แต่ก็สามารถนำมาดัดแปลงติดตั้งกับรถทั่วไปได้

โครงสร้าง – เป็นโพลียูรีเทน หรือไฟเบอร์กลาส บุด้วยฟองน้ำแข็ง หุ้มด้วยหนังหรือกำมะหยี่ รูปทรงของเบาะชนิดนี้ ตำแหน่งต่าง ๆ ทุกจุดเหมาะกับการขับขี่มาก ไม่ว่าจะเป็นองศาของเบาะ (ที่ปรับไม่ได้) หรือSide Support ปีกด้านข้างป้องกันมิให้ร่างกายสบัดออกด้านข้างได้ เวลาขับเข้าโค้งแรก ๆ รูปทรงของเบาะจะเป็นคล้ายแอ่ง ตัวคนนั่งจะนั่งจมลงไปในแอ่งของตัวเบาะ

เนื่องจากเบาะชนิดนี้ออกแบบให้เหมาะกับนักแข่ง ซึ่งจะต้องนั่งบนเบาะ ตลอดการแข่งขันต้องรับสภาวะต่าง ๆ ตลอด ร่างกายละประสาทสัมผัสจะต้องทำงานหนักทุกวินาที ความเครียด ความเมื่อยล้าเกิดขึ้นมากมาย การควบคุมรถต้องแม่นยำและรวดเร็ว เบาะชนิดนี้จึงได้รับการออกแบบมาอย่างดี

ถ้าต้องการนำเบาะชนิดนี้มาติดตั้งใช้งานทั่วไป ควรติดตั้งตัวเดียวเฉพาะตำแหน่งผู้ขับขี่ เพราะถ้าติดตั้งในตำแหน่งที่มิใช่ผู้ขับขี่จะเมื่อย เพราะมิได้ยึดแขนยึดขาเหมือนคนขับ
ถ้าเป็นผู้มีอายุสักหน่อย หรือรถระดับหรู ๆ ไม่ควรติดตั้งเบาะชนิดนี้ ซึ่งเหมาะกับรถซิ่งหรือคนหนุ่มมากกว่า

เบาะชนิดปรับเอนไม่ได้นี้ มีให้เลือกกันหลายแบบหลายราคา เช่น RECARO ของยุโรปราคาหลายหมื่นบาท ของญี่ปุ่นTRD TOM’S ราคาเกือบหมื่นบาท หรือเกินนิด ๆ

ของแท้ส่วนใหญ่จะทำด้วยโพลียูริเทน เหนียว ทนทาน แต่มีคนไทยก็อปปี้เป็นไฟเบอร์กลาสจาเบาะจริง หุ้มขายกันเกือบทุกแบบ ในราคาจาก 1,000 กว่าบาทจนถึง 4,000 บาท ลวดลายและสีใกล้เคียง แต่ฟองน้ำที่ใช้บุไม่ค่อยทนทาน

2.2 เบาะชนิดปรับเอนได้
เป็นเบาะติดรถยนต์ทั่วไป นิยมเปลี่ยนเป็นแบบบัคเก็ตซีต กระชับสรีระ มีปีกด้านข้างรองรับทุกด้าน

สำหรับรถหรู – เช่น เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู ถ้าอยากเปลี่ยน แนะนำให้ใช้ยี่ห้อRECARO ไม่เสียระดับ สั่งได้ตามร้านประดับยนต์ใหญ่ ๆ ในราคาคู่ละหลายหมื่นบาทจนถึงแสนบาท ปรับด้วยมือ ไฟฟ้า หรือลม มีหลายรุ่นสำหรับรถราคาเป็นล้านบาท ถ้าต้องขับเองบ่อย เงินแค่ไม่กี่หมื่นบาทกับเบาะดี ๆ คู่หนึ่ง คุ้มกับความสบายและความหรูหราที่เพิ่มขึ้นมา โดยไม่ต้องเสียระดับหากหันไปมองเบาะญี่ปุ่นหรือRECARO ปลอม

สำหรับรถทั่วไป – เป็นเบาะของรถญี่ปุ่นที่ส่งเข้ามาขายในเชียงกง เหมือนกับอะไหล่เก่าอื่น ๆ มีให้เลือกมากมาย ตั้งแต่คู่ละ 2,000 กว่าบาท จนถึงเกือบหมื่นบาท ราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 บาท

ควรเลือกเบาะแบบบัคเก็ตซีต ของรถสปอร์ต คือ มีปีกต่าง ๆ รองรับครบ และอย่าเลือกเบาะแบน ๆ เหมือนเบาะเดิมเด็ดขาด

มีให้เลือกทั้งแบบหุ้มผ้า หนัง หรือกำมหยี่ ควรลองนั่งดู ปรับเอนให้พอใจ ก่อนตัดสินใจ ควรเลือกสีของเบาะให้เข้ากับห้องโดยสารและแผงประตู เบาะสีดำ ขาว เทา จะเข้ากับสีของห้องโดยสารได้เกือบทุกสี ไม่ควรนำไปให้ร้านหุ้มเบาะหุ้มให้ใหม่ เพราะฝีมือและคุณภาพสู้ของจากนอกไม่ได้

ขนาด – ควรวัดเนื้อที่ด้านความกว้างของห้องโดยสารให้แน่นอน ก่อนที่จะไปเดินเลือกซื้อ ถ้าเป็นรถขนาดเล็กหรือกลาง ควรเลือกเบาะขนาดเล็กทรงเพรียว ๆ มีรูปร่างสปอร์ตหน่อย ถ้าเป็นรถขนาดใหญ่ควรเลือกเบาะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย เพื่อไม่ให้ดูโล่งเกินไป

2 แบบย่อย – เบาะชนิดปรับเอนได้ ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย คือ แบบปรับปีกได้ (Side Support) และแบบปรับไม่ได้

แบบปรับปีกได้ ในลักษณะต่างๆ คือ บีบ-อ้าออก ให้พอดีกับลำตัวหรือขา บางแบบอาจจะปรับหนุนหลังได้ด้วย บางคู่อาจจะปรับได้เฉพาะด้านคนขับ มีทั้งแบบปรับด้วยมือ และไฟฟ้า แยกออกไปอีก แบบปรับด้วยมือจะถูกกว่า ถ้าเป็นแบบปรับด้วยไฟฟ้า ควรลองให้ดี และควรหาสวิตช์มาพร้อมกับเบาะด้วย

เบาะชนิดปรับเอนได้อย่างเดียว ปรับปีกตาง ๆ ไม่ได้ มีราคาไม่สูงนัก คู่ละ 3-4 พันบาท มีให้เลือกมากแบบที่สุด ราคาแตกต่างกันออกไป ควรลองนั่งให้พอใจที่สุดก่อนเลือกซื้อ

ราคา
ราคาของเบาะรถไม่มีเพดานราคาที่แน่นอน แต่ละร้านจะกำหนดไม่เท่ากัน ก่อนตัดสินใจซื้อควรสอบถามราคาของเบาะรุ่นที่ต้องการใช้ให้ทั่ว เวลาถามราคา ควรหาราคาต่ำสุดก่อนเดินผ่านไปถามร้านอื่น ถ้าวนกลับมารอบสองแล้วจะต่อราคาได้น้อยมาก เพราะแสดงถึงความต้องการของเรา ใช้วิธีนี้ต้องทนถูกทำตาขวางใส่หน่อย แต่จะได้สินค้าที่ถูกใจ ในราคามาตรฐานที่สุด

แหล่งขาย
เชียงกงปุทมวัน ร้านข้างสน.ปุทมวัน ขายแต่เบาะเป็นส่วนใหญ่ ซอบกลาง และกระจัดกระจายอยู่ตามร้านเล็ก ๆ ทั่วไป

การติดตั้ง
หากเป็นการติดเบาะใหม่ขาใหม่ ก็แก้ขุดยึดที่ตัวรถ ต้องมีความละเอียดและเล็งให้ดี ๆ เสี่ยงต่อการที่รถช้ำ และหากเป็นเบาะใหม่ขาเก่า รถไม่ช้ำและเบาะตั้งได้ตรงไม่เอียง

การติดตั้งเบาะตัวใหม่โดยใช้ขาและรางเก่า โดยการสร้างAdapter แผ่นเหล็ก เพื่อต่อระหว่างขารางเลื่อนเก่ากับเบาะใหม่ ซึ่งมีรูนอตไม่ตรงกัน วะใช้ได้กับเบาะทุกแบบที่มีระนาบของฐานเบาะตรง คือ ถ้าถอดขารางเบาะออกแล้วนำเบาะวางลงบนพื้น เบาะจะต้องตั้งตรง 90 องศา

การสร้างAdapter
เริ่มจากหากระดาษแข็งที่เรียกว่ากระดาษเทา-ขาวมา ถอดขารางเลื่อนของเบาะเก่าและใหม่ออกให้หมด หงายฐาน (ใต้เบาะ) ขึ้นทั้งเบาะเก่า-ใหม่ นำกระดาษแข็งมาทาบลงตรงฐานใต้เบาะเอามือกดลอกตำแหน่งของรูนอตทั้ง 4 ใต้เบาะให้แม่นยำ ทั้งเบาะเก่าใหม่อย่างละแผ่น
ตัดกระดาษขอบนอกของรูออกห่างจากขอบรูนอตสัก 1 เซนติเมตร จะได้กระดาษรูปสี่เหลี่ยม 2 แผ่นใหญ่ เอาแผ่นเล็กทิ้งไป ดังนั้น กระดาษแผ่นใหญ่ก็จะมี 8 รู (เพราะลอกจากแผ่นเล็กลงมา)

ตัดส่วนเกินวงในออกให้เป็นดังรูป เวลาเอาไปตัดเป็นเหล็กแล้วจะได้ไม่หนัก นำกระดาษแบบไปเป็นแบบตัดเหล็ก ใช้เหล็กหนาสัก 1 หุนก็พอ เจาะรูขนาดเท่านอตให้ครบ 8 รู
ถ้ารูทั้ง 4 ของเบาะใหม่อยู่วงนอกของเบาะเดิม ให้นำนอตตัวเมีย 4 ตัว เชื่อมยึดติดกับรูนอตวงในของAdapter เพื่อยึดกับขาของเบาะเก่า
ถ้ารูยึดทั้ง 4 ของเบาะใหม่อยู่วงในของเบาะเก่า ก็ให้นำนอตตัวเมีย 4 ตัว เชื่อมติดกับรูนอตวงนอกทั้ง 4 ตัว

ความรู้เกี่ยวกับเบาะนั่งภายในรถยนต์
ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

ครบเดรื่องเรื่องของลมยางรถยนต์

ครบเดรื่องเรื่องของลมยางรถยนต์
เรื่องยุ่ง ๆ ของลมยาง
ยางรถยนต์ ใช้ลมเป็นตัวช่วยซึมซับแรงสั่นสะเทือน และช่วยให้ยางคงรูปอยู่ได้ ด้วยความทนทานของยางยุคใหม่ แรงดันลดลงช้า รั่วยาก ระเบิดยาก จึงทำให้หลายคนละเลยหรือไม่ได้หาความรู้เรื่อง “แรงดันลมยาง” มากนัก

อ่านแง่มุมที่น่าสนใจ หลายประเด็นอาจไม่เคยทราบกันมาก่อน และเกี่ยวข้องกับการใช้งานจริง ไม่เน้นวิชาการลึกล้ำจนยากจะเข้าใจ แต่มีหลักการอ้างอิงควบคู่กัน

ยางไม่รั่วทำไมแรงดันลด
ดูแล้วยางรถยนต์มีเนื้อหนาหลายมิลลิเมตร และมีโครงสร้างภายในเป็นวัสดุแข็งแรง ถ้าไม่รูรั่ว แรงดันลมยางก็ไม่น่าจะลดลงได้ง่าย ๆ
ในความเป็นจริง เนื้อยางมีรูพรุนขนาดเล็กมาก ๆ อยู่เต็มไปหมด และขอบยางแบบไม่มียางในที่อัดอยู่กับขอบกระทะล้อ ก็อาจมีรูขนาดเล็กอยู่บ้าง แม้แช่น้ำดูแล้วไม่มีฟองอากาศแสดงถึงการรั่ว แต่แรงดันลมยางภายในยางที่สูงหลายเท่าของบรรยากาศปกติ ย่อมซึมออกมาได้บ้าง โดยเฉลี่ยแล้ว ถ้าแรงดันลมลดลงสัปดาห์ละ 1 ปอนด์/ตารางนิ้ว ถือเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ต้องยุ่งยากวัดแรงดันลมยางทุกวัน ทำสัปดาห์ละครั้งหรือช้าที่สุด 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ก็ได้

อาจดูเหมือนไม่จำเป็น เพราะไม่ค่อยมีใครเติมลมเอง แต่จริง ๆ แล้วควรมีไว้ใช้ส่วนตัว เพราะคนส่วนใหญ่เติมลมตามปั๊มน้ำมัน ซึ่งมีบริการวัดแรงดันลมด้วย และมาตรวัดก็มักจะมีความเพี้ยน เพราะใช้วัดกันนับครั้งไม่ถ้วน บางครั้งพบว่าแสดงผลผิดพลาดกว่า 10 ปอนด์/ตารางนิ้วก็ยังมี จึงควรมีมาตรวัดแรงดันลมยางส่วนตัว และควรเลือกที่มีคุณภาพดี เพื่อความแม่นยำ ในราคาตัวละหลายร้อยบาท

หากมีปั๊มที่เติมลมเป็นประจำ นาน ๆ ครั้งก็สามารถนำมาวัดเปรียบเทียบกันว่า มาตรวัดของเขาแสดงผลเพี้ยนแค่ไหน ครั้งต่อไปจะได้บอกให้เติมลมให้มีแรงดันตรงตามต้องการ หรือเติมลมตามปั๊มทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ที่ประจำ ก็สามารถตรวจสอบแรงดันซ้ำได้อย่างสะดวก

แรงดันลมยาง – ต้องเชื่อคู่มือประจำรถยนต์จริงหรือ
คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ค่าแรงดันลมยางที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำในคู่มือหรือสติ๊กเกอร์บนตัวถัง มีความน่าเชื่อถือ และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยไม่สามารถประยุกต์เปลี่ยนไปใช้แรงดันต่างออกไปได้

ถ้าเติมลมยางตามสเปกนั้นก็ไม่อันตราย แต่อาจไม่ใช่แรงดันลมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับยางรุ่นที่ใช้ตอนนั้นก็เป็นได้ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ไม่ทราบเลยว่า หลังจากยางที่ให้มาจากโรงงานประกอบถูกใช้หมดสภาพ จะถูกเปลี่ยนเป็นยางรุ่นใด มีโครงสร้างอย่างไร แต่ก็ต้องแนะนำไว้ล่วงหน้าให้เสมือนคาเฉลี่ย ซึ่งอาจไม่ใช่ดีที่สุด แต่สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา

ตามหลักวิชาการที่ลึกกว่านั้น อาจมีค่าแรงดันลมยางซึ่งเหมาะสมกว่า และต่างจากคำแนะนำในคู่มือประจำรถ เพราะยางแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ แม้เป็นขนาดเดียวกัน แต่ก็มีโครงสร้างภายใน และเนื้อยางที่แตกต่างกัน หรืออีกในกรณี ถ้าเปลี่ยนขนาดยางทั้งความกว้างหรือแก้มยางต่างออกไป ก็ยิ่งมีแนวโน้มว่า อาจไม่ต้องเติมลมยางตามกำหนดนั้นเสมอไป
ในการใช้งานจริง เราสามารถเลือกเติมลมยางด้วยลมยางที่แตกต่างจากการแนะนำนั้นได้ โดยเริ่มจากการทำตามคำแนะนำก่อน ขับใช้งานเพื่อจับอาการต่าง ๆ เช่น ความนุ่มนวล การเกาะถนน อัตราเร่ง และอื่น ๆ สักวันสองวัน แล้วก็ลองลดแรงดันลมยางลงสัก 2 ปอนด์/ตารางนิ้ว ขับไปวันสองวันเพื่อเปรียบเทียบอาการกัน ต่อมาก็เพิ่มแรงดันขึ้นจากการแนะนำ 2 ปอนด์/ตารางนิ้ว และก็ทำเหมือนเดิม

ต่อมาถ้ายังมีเวลา ก็เพิ่มหรือลดจากการแนะนำสัก 4-5 ปอนด์/ตารางนิ้ว แล้วจับอาการดูว่าอัตราเร่งอืดหรือไม่ กระเด้งกระด้างไปหรือไม่ ลื่นไปหรือไม่ แล้วค่อยตัดสินใจว่ายางชุดนั้น ควรเติมลมยางด้วยแรงดันเท่าไร เหมาะสมกับลักษณะการขับของตนเองหรือไม่ รถยนต์รุ่นเดียวกันยางรุ่นเดียวกัน แต่ต่างคนขับกัน ก็อาจจะใช้แรงดันลมยางที่ชอบต่างกันก็เป็นไปได้

โดยทั่วไป หากมีการเติมลมต่างจากการแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์ในคู่มือ หรือสติ๊กเกอร์ ก็พบว่าไม่น่าต่างเกิน + – 5 ปอนด์/ตารางนิ้ว
หากแรงดันลมยางอ่อนเกินไป เร่งแล้วจะหนืด อัตราเร่งไม่ดี เพราะยางจะย้วยจึงหมุนยาก แต่รู้สึกว่าเกาะถนน เพราะมีหน้าสัมผัสมากขึ้น ในระยะยาวยางจะอายุสั้น เพราะมีการขยับตัวมาก อาจบวมแตกปริบริเวณแก้มยางได้

ถ้าแรงดันสูงหรือที่เรียกว่าแข็งมาก ยางจะหมุนง่าย เพราะหน้ายางและแก้มยางมีความตึง แต่จะลดการเกาะถนนลงไป เพราะหน้าสัมผัสมีแรงกดเต็มที่บริเวณแนวกลางของหน้ายางเท่านั้น และกระด้าง ในการแข่งขันประหยัดน้ำมัน จึงมักเติมลมยางแข็งกว่าปกติถึง 10-30 ปอนด์/ตารางนิ้ว

เมื่อตัดสินใจใช้แรงดันใด ๆ สักเดือน ให้ดูการสึกหรอของหน้ายางด้วย หากสึกหรอแถบกลางมากกว่า แสดงว่าแรงดันลมยางสูงไป แต่ถ้าริมทั้ง 2 ข้างสึกหรอมากกว่าแถบกลาง แสดงว่าแรงดันต่ำไป (ศูนย์ล้อ และระบบช่วงล่างต้องปกติ)

หากไม่ใช่เป็นคนที่จับอาการของรถยนต์ในการขับได้ดี หรือความรู้สึกช้า ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ ก็ควรปฏิบัติตามคู่มือประจำรถยนต์

เติมไนโตรเจน
หลายคนสนใจ เพราะความเชื่อหรือโฆษณาว่า เติมไนโตรเจน 100% แทนลม (อากาศปกติ) แล้วแรงดันลมยางจะเปลี่ยนแปลงน้อยเมื่อยางร้อน

ในความเป็นจริง อากาศก็มีไนโตรเจนผสมอยู่กว่า 75% อยู่แล้ว มีออกซิเจนกว่า 20% การขยายตัวของอากาศปกติกับไนโตรเจนล้วน ๆ เมื่อเกิดความร้อนขึ้น จึงไม่ต่างกันมาก

ปัญหาที่สำคัญกว่าและถูกมองข้าม เป็นเรื่องของความชื้นหรือไอน้ำที่ผสมอยู่ในลมที่ถูกเติม เพราะปั๊มลมส่วนใหญ่มีการกรองเอาไอน้ำออกไม่หมด หรือไม่กรองเลย ซึ่งในการเติมลมยางตามสถานที่ทั่วไป จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงลมผสมไอน้ำได้ เพราะไม่สะดวกที่เราจะตรวจสอบเมื่อความชื้นกัลบกลายเป็นน้ำ แรงดันรวมของยางจะลดลง แต่เมื่อยางร้อน น้ำจะกลายเป็นก๊าซ แรงดันจะเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การเติมลมด้วยไนโตรเจนล้วน ๆ จึงอาจจะดีในแง่ที่มีความชื้นปนอยู่น้อยมาก หากอยากเติม ก็ควรสะดวกทั้งในการเติมครั้งแรก และการเติมครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าเติมได้แค่ครั้งแรกแล้วครั้งต่อไปเติมด้วยลมธรรมดา (ที่มีไอน้ำปน) ประโยชน์ของไนโตรเจนก็จะลดลงไป

ขับทางไกล / บรรทุกหนัก / เพิ่มแรงดันลม
การขับทางไกลด้วยความเร็วและต่อเนื่อง ยางจะเกิดความร้อนมากกว่าปกติ จากการเคลื่อนไหวของยางในทุกส่วน ลมยางที่ร้อนจะขยายตัวเพิ่มแรงดัน จนลดการเกาะถนน และการทรงตัว ถ้าแรงดันเพิ่มขึ้นมาก ๆ และร้อนจัด ยางก็อาจระเบิดได้

บางคนก็เลยคิดและทำแบบผิด ๆ โดยเติมลมยางอ่อนกว่าปกติ เพราะคิดว่าจะเป็นการเผื่อล่วงหน้า เวลายางร้อน แรงดันจะได้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน แต่ในการใช้งานจริง แรงดันกลับเพิ่มขึ้นมาก เพราะยางร้อนจากการบิดตัวง่าย และเป็นทั้งแรงดันที่สูง และเป็นลมร้อน ยางจึงเสี่ยงต่อการระเบิด

ในความเป็นจริง ยางที่จะใช้ในการขับทางไกลหรือความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ควรเติมไว้ให้มีแรงดันลมสูงกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อเป็นการลดการบิดตัวของยาง จึงทำให้ความร้อนน้อยกว่ายางที่ลมอ่อน แม้จะเริ่มต้นด้วยแรงดันที่สูงกว่า แต่เมื่อร้อนแล้วมีการขยายตัวของลมยางน้อยกว่า การเพิ่มแรงดันจึงมีไม่มาก และไม่ร้อนจัด

หากบรรทุกน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็ควรเพิ่มแรงดันลมยาง ไม่เฉพาะแต่ปิกอัพ แต่รวมถึงรถเก๋งด้วย เพราะถ้าใช้แรงดันลมยางเท่าเดิม หน้ายางสัมผัสจะมากขึ้น ยางจะแบนลง บริเวณที่แบนลงจึงหมุนยากขึ้น ตามหลักการง่าย ๆ คือ ลมยางมีขอบเขตการรับน้ำหนักตามแรงดันที่ไส่ไว้ เช่น หน่วยแรงดันเป็นปอนด์/ตารางนิ้ว ถ้ายางล้อนั้นมีน้ำหนักกดลง 300 ปอนด์ เติมลมไว้ 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว ยางก็จะถูกกดลงจนมีหน้าสัมผัส 10 ตารางนิ้ว

ถ้ามีน้ำหนักกดลงมาเพิ่มเป็น 420 ปอนด์ หน้าสัมผัสก็ต้องเพิ่มเป็น 14 ตารางนิ้ว นั่นคือ ยางต้องแบนลง ลดความกลม หมุนยาก อัตราเร่งอืด และยางต้องถูกบิดตัวมาจนร้อนมาก เพราะเมื่อรถยนต์แล่น ก็จะพยายามทำให้ยางกลม ในขณะที่หน้าสัมผัสของยางแบนกว่าปกติ


เรื่องต่าง ๆ ของยางรถยนต์ล้วนมีความน่าสนใจ เพราะเกี่ยวข้องทั้งสมรรถนะ และความปลอดภัย
ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

รายการบล็อกของฉัน