เบื้องต้นข้อมูลรถใหม่ TOYOTA Mitsubishi Nissan Honda

เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี

เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี
เครื่องยนต์อันเป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนของรถยนต์ทุกคัน ชิ้นส่วนที่จะต้องทำงานอยู่ทุกวินาที ย่อมมีการศึกหรออย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่ารถคันใดจะใหม่หรือเก่า ก็หนีไม่พ้นการหมดอายุ การใช้งานของเครื่องยนต์ ปัญหาที่จะต้องพบก็คือ จะทำอย่างไร ให้รถกลับไปมีเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์อย่างคุ้มค่าเงินที่สุด และมี 2 ทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ คือ การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า และเปลี่ยนเครื่องยนต์(ใช้แล้ว)ตัวใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ทางเลือก ต่างมีข้อดีและข้อเสียที่แตกตางกันออกไป
· การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)
ภาษาชาวบ้าเรียกว่า “ฟิตเครื่อง” เป็นทางเลือกที่อู่ซ่อมรถชอบและแนะนำให้ลูกค้าเลือกวิธีนี้ เพราะการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะต้องมีการรื้อชิ้นส่วน เพื่อวิเคราะห์การสึกหรอ และตัดสินใจเลือกเปลี่ยนอะไหล่ใหม่การที่เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่มอบหมายให้อู่หาซื้ออะไหล่ให้นั้น เป็นการเปิดทางให้อู่สามารถ “บวกราคาอะไหล่” หรือ ซื้ออะไหล่ของเทียม แต่เก็บเงินในราคาอะไหล่แท้อย่าคิดจะจับผิดในจุดนี้ เพราะอู่ซ่อมรถส่วนใหญ่มักจะสนิทสนมกับร้านอะไหล่จนเป็นปกติ จะให้ลงราคาในใบเสร็จเท่าไรก็ได้ บางครั้งไม่ได้เปลี่ยน แต่มีรายการอะไหล่อยู่ในใบเสร็จก็ยังมี และอย่าคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้โดยเลือกซื้ออะไหล่เอง อู่บริการจะมีข้อแม้ว่า เจ้าของรถไม่ชำนาญพอ และอาจทำให้งานลาช้า ถ้าซื้ออะไหล่มาไม่ครบหรือซื้อผิดรุ่นการบวกราคาค่าอะไหล่ในใบเสร็จร้านอะไหล่บางครั้งไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย เพราะบางแห่งบวกกันกว่า 50-100% เรื่องอย่างนี้อยู่ที่จรรยาบรรณนอกจากอู่ซ่อมรถจะได้กำไรจากการบวกราคาค่าอะไหล่ ยังมีการบวกคาใช้จ่ายในส่วนของ “โรงกลึง” อีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ท้ายสุด ยังได้ค่าแรงรื้อประกอบอีก 2,000-3,000 บาท (ค่าแรงเปลี่ยนเครื่องเพียง 1,000-1,500 บาทเท่านั้น)การเลือกวิธีซ่อมเครื่องเก่า จะต้องเสียเวลาประมาณ 3-7 วัน กับค่าใช้จ่ายสูงลิบ และยากแก่การควบคุม เพราะจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักการ “ฟัน” ของอู่ อีกทั้งยังต้องลุ้นกับฝีมือช่างอีกด้วยภาพการสึกหรอของเครื่องยนต์ จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกที่ดี ขีดจำกัดอยู่ที่ “การสึกหรอของกระบอกสูบและชาฟท์(แบริ่ง)”
ถ้ากระบอกสูบมีการสึกหรอจนไม่สามารถใช้ลูกสูบชุดเดิมได้ การกลึงคว้านเพื่อเปลี่ยนลูกสูบใหญ่ขึ้น หมายถึงค่าใช้จ่าย…โรงกลึง, ลูกสูบ และแหวนลูกสูบ ฯลฯการคว้านกระบอกสูบในภายหลังนี้ จะไม่มีการ “ชุบแข็ง” ที่ผิวกระบอกสูบเดิมที่ถูกคว้านออกไปที่มีการชุมแข็งจากโรงงานผู้ผลิตผิวกระบอกสูบที่ไม่ได้ชุบแข็ง จะมีอัตราการสึกหรอมากกว่ามาตรฐาน เครื่องยนต์จะมีอายุการใช้งานสั้นลง และไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปการเลือกวิธีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อเป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้อยและมีราคาสูง แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ

อีกประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และวาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่าในเชียงกง

สิ่งที่ควรระวังก็คือ อู่บริการส่วนใหญ่ มักจะประเมินราคาค่าซ่อมขั้นต้นไว้ เพื่อจูงใจให้เลือกวิธีซ่อมเครื่องยนต์เก่า แต่เมื่อลงมือไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะบานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยข้ออ้างที่ว่า “ทำครั้งเดียวทำดี ๆ ไปเลย” ซึ่งถึงเวลานั้นก็คงกลับตัวกันไม่ทัน เพราะเครื่องก็ถูกรื้อออกมาแล้ว อย่างไรก็ต้องทำให้เสร็จ

· การเปลี่ยนเครื่องยนต์
ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ใช้แล้วของรถญี่ปุ่น มีให้เลือกซื้ออย่างแพร่หลายในราคาที่น่าสนใจ โดยแหล่งใหญ่อยู่บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ แถว ๆ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในชื่อเรียกว่า “เชียงกง”

แหล่งรองลงมาอยู่ที่สี่แยกหลักสี่ในชื่อเรียก “เชียงกงหลักสี่” นอกจากนั้น ยังมีร้านเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามตึกแถวทั่วกรุงเทพฯ

เครื่องยนต์ที่ถูกนำเข้ามา จะเป็นเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วทั้งสิ้น ถูกถอดออกมาจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งในป่าช้ารถในประเทศญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นมักใช้รถกันเพียง 3-5 ปี เพราะในญี่ปุ่นรถมีราคาถูก แต่ค่าซ่อมแพง ถ้าใครทนใช้เกินระยะเวลานี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การต่อทะเบียน ตรวจสภาพ ประกันภัย ฯลฯ จนทางเลือกในการซื้อรถใหม่เป็นทางที่คุ้มค่ากว่า

การใช้งานในระยะเวลา 3-5 ปี มิได้หมายความว่ารถยนต์จะผ่านการใช้งานอย่างหฤโหดเป็นแสน ๆ กิโลเมตรแบบคนไทย เพราะระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม คนญี่ปุ่นหลายคน จึงใช้รถยนต์แค่วันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

นอกจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งด้วยสาเหตุที่กล่าวมา ก็มีรถยนต์ที่ถูกทิ้งเพราะเกิดอุบัติเหตุ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” บริษัทประกันภัยจะเคลมรถใหม่ให้แก่ลูกค้า พร้อมกับทิ้งรถเก่าเข้าป่าช้ารถไป

อย่าคิดว่ารถที่ถูกทิ้งจะต้องถูกชนยับแบบเมืองไทย เพราะการ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” ของญี่ปุ่น คือ การชนในส่วนที่ไขน็อตเปลี่ยนไม่ได้ ในเมื่อค่าแรงแพงมาก จะมาดึงมาเคาะโป๊วสีนั้นไม่คุ้มแน่ บางครั้ง แค่ชนท้ายยุบหรือเสาประตูงอ รถก็ถูกทิ้งกันแล้ว

ถ้าอุบัติเหตุไม่เกิดขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เสียหาย เครื่องยนต์ก็จะถูกถอดลำเลียงมาจำหน่ายในเมืองไทย เช่นเดียวกับรถประเภทแรกที่เจ้าของทิ้งเพราะไม่อยากต่อทะเบียน

บางครั้ง รถก็เกิดอุบัติเหตุหลังผ่านการใช้งานเพียไงม่กี่เดือนหรือยังไม่พ้นระยะ “รันอิน” ด้วยซ้ำไป ถ้าใครโชคดีได้ซื้อเครื่องลักษณะนี้ ก็เท่ากับซื้อเครื่องใหม่ในราคาเครื่องเก่า

เครื่องยนต์ที่ถูกส่งเข้ามาขายจะปะปนกันระหว่าง “รถทิ้ง” กับ “รถชน” ซึ่งก็ไม่มีใครจดจำกันได้ แม้แต่ผู้ขายเอง

แต่เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ จะมีสภาพไม่ต่ำกว่า 50-70% อย่างแน่นอน คาดคะเนได้จากการใช้งานโดยเฉลี่ยของคนในเมืองหลวงวันละ 30-40 กิโลเมตร (ไป-กลับลาดพร้าว-ฝั่นธนบุรี) 1 ปีจะถูกใช้ประมาณ 14,000 กม. 4 ปีก็ 56,000 กม. ยังเหลือให้เราใช้อีกกว่า 50%
บางเครื่องอาจจะถูกใช้น้อยกว่านี้ เพราะเป็นที่ถูกทิ้งเพราะการชน อีกทั้งการแข่งขันของกลุ่มผู้ค้าอะไหล่เก่าก็รุนแรงขึ้น จนต้องมีการคัดสรรเครื่องยนต์ที่มีสภาพดีมาจำหน่าย

ความคุ้มคาของการเลือกซื้อเครื่องยนต์ใหม่ (ใช้แล้ว) อยู่ที่เทคนิคการเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่มีอายุการใช้งานเหลืออยู่มากที่สุด

ข้อดีของการเลือกเปลี่ยนเครื่องยนต์
ความแน่นอนในการประปอบชิ้นส่วน – ช่างในโรงงานผู้ผลิตย่อมเหนือกว่าฝีมือช่างตามอู่ทั่วไป ในกรณี “ฟิตเครื่อง” จะต้องลุ้นในฝีมือช่างประกอบด้วย อะไหล่ดีหมดแต่ฝีมือไม่ดีก็พังได้

การควบคุมค่าใช้จ่าย – ค่าใช้จ่ายหลักมีเพียงค่าเครื่อง, ค่าหัวเทียน, ผ้าคลัตช์, น้ำมันเครื่อง ทางอู่บริการไม่สามารถบวกค่าอะไหล่ได้มากเท่ากับการฟิตเครื่อง ลดค่าแรงการฟิตเครื่อง 2,000-4,000 บาท มาเป็นค่าเปลี่ยนเครื่อง 800 –1,500 บาทเท่านั้น

ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฟิตเครื่องยนต์ – การฟิตเครื่องที่จะได้เครื่องสมบูรณ์ใกล้ 100% ที่สุด จำเป็นต้องใช้อะไหล่แท้ที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ราคาอะไหล่ทั้งหมด แพงกว่าราคาเครื่อง 1 ตัวอีก และถึงแม้จะใช้อะไหล่แท้และประกอบดีเพียงใด เครื่องยนต์ที่เสร็จออกมาก็จะได้แค่ “ใกล้” 100% หรือประมาณ 80-90% เท่านั้นเอง เพราะหลายชิ้นส่วนมีการสึกหรอแล้ว

อะไหล่เหลือเก็บ – ควรเก็บเครื่องยนต์เก่ากลับมาบ้าน (ถ้ามีที่เก็บ) เพราะอะไหล่ต่าง ๆ อาจนำมาใช้ได้ในอนาคต ถ้าที่เก็บไม่พอ ให้ถอดอะไหล่ชิ้นต่าง ๆ ออกมาเก็ไว้ เช่น ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท, คาร์บูเรเตอร์, จานจ่าย, สายหัวเทียน, ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง, ฟลายวีล, ทวีคลัตช์, ผ้าคลัตช์, ปั๊มน้ำ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้เสมือนผลกำไรของเรา อนาคต ถ้าชิ้นส่วนเหล่านี้เสีย ก็จะมีอะไหล่ใช้โดยไม่ต้องซื้อ

ประหยัดเวลา – การเปลี่ยนเครื่องใช้เวลาเพียงครึ่งวัน-สองวัน สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากเสียค่าเดินทางหลายวัน คางจากการฟิตเครื่องที่ใช้เวลา 3-7 วัน
เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี

ที่มา : sawangsangtam.ueuo.com

รายการบล็อกของฉัน