เบื้องต้นข้อมูลรถใหม่ TOYOTA Mitsubishi Nissan Honda

reporters คู่มือป้องกัน 'ไฟไหม้' 'รถใช้ก๊าซ'


reporters คู่มือป้องกัน 'ไฟไหม้' 'รถใช้ก๊าซ'
* อุบัติเหตุ ประมาท..อาจจะบึ้ม!

แม้คนไทยจะเริ่มชินกับ “น้ำมันแพง” กันบ้างแล้ว แต่ยังไง ๆ แพงก็คือแพง
ซึ่งสำหรับคนที่มีรถใช้ ส่วนหนึ่งก็หันไปพึ่งพา “แก๊ส” หรือ “ก๊าซ”
มีการนำรถไปติดตั้งระบบการใช้ก๊าซแทนการใช้น้ำมันกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะเกิดการหวั่น ๆ ในเรื่อง “ความปลอดภัย”

“รถไฟไหม้” แม้แต่กับรถที่ใช้น้ำมันก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่กับ “รถใช้ก๊าซ” ความกลัวในเรื่องนี้มีมากกว่า !!

ทั้ง นี้ กับเรื่องความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ใช้รถซึ่งติดตั้งระบบใช้ก๊าซนั้น
ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มีการจัดทำคู่มือให้ความรู้ที่น่าสนใจ
กล่าวคือ... รถยนต์ที่ติดตั้งระบบใช้ก๊าซ จำเป็นจะต้องหมั่นตรวจเช็กดูแลรักษาเป็นอย่างดี
และควรต้องรู้วิธีปฏิบัติเมื่อรถใช้ก๊าซเกิดประสบอุบัติเหตุ

สำหรับการดูแลรักษารถยนต์ที่ใช้ก๊าซนั้น มีดังนี้คือ...

1.ต้องตรวจสอบรถและระบบก๊าซตามระยะที่กำหนด,

2.หมั่น ตรวจสอบข้อต่อท่อส่งก๊าซ และการรั่วไหลของก๊าซ
โดยใช้น้ำสบู่หยอดที่ข้อต่อก๊าซทุกจุดที่สามารถทำเองได้
โดยการตรวจรอยรั่วตามข้อต่อนั้น จะต้องทำการตรวจสอบขณะเปิดใช้ระบบก๊าซ

3.ควร เติมน้ำมันให้อยู่ในระดับ 14 ของถังน้ำมันด้วย เพราะขณะสตาร์ตรถต้องใช้การเผาไหม้จากน้ำมัน
เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วระบบจึงจะถูกปรับไปใช้ก๊าซแทน,

4.ต้อง เติมก๊าซจากสถานีบริการที่ได้มาตรฐานเท่านั้น

5.หากไม่ใช้รถเป็นเวลานานควรปิดวาล์วมือหมุนที่ถังก๊าซ เพื่อป้องกันระบบวาล์วไฟฟ้าบกพร่อง
เพราะถ้าบกพร่องอาจเกิดการระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้


นอก จากการดูแลรักษาแล้ว การรู้วิธีปฏิบัติเมื่อรถใช้ก๊าซเกิดอุบัติเหตุก็ควรให้ความสำคัญ
โดยข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุไว้ดังนี้คือ...

รถยนต์ที่ใช้ก๊าซมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ หากประสบอุบัติเหตุ รุนแรง
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ส่วนหนึ่งมาจากการเฉี่ยวชน และระบบไฟฟ้าลัดวงจร

วิธีป้องกันและข้อควรปฏิบัติ มีดังนี้คือ...
เริ่มจากวิธีป้องกันเพลิงไหม้รถ ควรขับรถในอัตราความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน นอกจากจะทำให้หยุดรถได้ทันแล้วยังช่วยลดแรงปะทะให้เหลือเพียง 45-55 กม./ชม.
ซึ่งเป็นระดับความเร็วที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะไม่ทำให้เกิดเพลิงไหม้รถ

กรณีประสบอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน เมื่อเกิดมีอุบัติเหตุ มีการเฉี่ยวชน
ผู้ขับขี่รถที่ติดก๊าซควรดับเครื่องยนต์ แล้วรีบออกจากรถ
กรณีใช้ถังก๊าซวาล์วมือหมุนแบบธรรมดาให้รีบปิดวาล์วด้วยตนเอง
หากเป็นถังก๊าซระบบมัลติวาล์วระบบจะปิดเองโดยอัตโนมัติ

หากได้กลิ่นก๊าซรั่วไหลให้รีบออกห่างจากรถ เพราะอาจเกิดระเบิด อาจเกิดเพลิงไหม้รถ
พร้อมโทรศัพท์แจ้งช่างผู้ชำนาญการมาดำเนินการตรวจสอบโดยด่วน

ที่ สำคัญ...แม้หลังประสบอุบัติเหตุรถยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ก็ควรนำไปตรวจสอบสภาพ
เนื่องจากระบบติดตั้งก๊าซอาจได้รับการกระทบกระเทือน ก๊าซอาจรั่วไหลและระเบิดได้ !!

กรณีระบบไฟฟ้าลัดวงจร ในขณะขับรถผู้ขับขี่ ควรหมั่นสังเกตบริเวณกระโปรงหลังรถซึ่งเป็นที่ตั้งของ ถังก๊าซ
หากพบสิ่งผิดปกติ เช่น มีควันไฟลอยขึ้นมา มีกลิ่นก๊าซรั่วไหลเข้ามาในห้องโดยสาร
ให้รีบนำรถเข้าข้างทาง ปิดสวิตช์ไฟ ดับเครื่องยนต์ และปิดวาล์วถังก๊าซ พร้อมตรวจสอบอย่างละเอียด

วิธี ปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้รถ
หากเพลิงไหมเล็กน้อย ให้ใช้ถังดับเพลิงเคมีฉีดเข้าไปบริเวณต้นเพลิงจนเพลิง ดับสนิท
หากไม่มีถังดับเพลิงเคมีให้ใช้ผ้าแห้ง ผ้าที่เปียกน้ำ ทราย มาโปะหรือตบบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้
หรือเจาะปากขวดน้ำเปล่าเป็นรูเล็ก ๆ ให้น้ำพุ่งฉีดไปบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้โดยตรง

หาก เพลิงไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็ว ให้รีบออกห่างรถที่เกิดเพลิงไหม้โดยเร็วที่สุด
เพื่อป้องกันอันตรายจากการระเบิด พร้อมโทรฯ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาควบคุมและระงับเพลิงไหม้โดยด่วน

“ที่ สำคัญ ผู้ขับขี่ควรจัดเตรียมถังดับเพลิงเคมีขนาดเล็ก หรือขวดน้ำเปล่าไว้ข้างเบาะ
เพื่อให้สามารถหยิบใช้ได้ทันทีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
รวมถึงหมั่นตรวจสอบระบบติดตั้งก๊าซ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้รถได้” ...ข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุ

อย่าง ไรก็ตาม แม้จะมีการตรวจสภาพรถและระบบก๊าซอย่างดี รวมถึงมีอุปกรณ์ดับเพลิงเตรียมพร้อมไว้แล้ว

ในการขับขี่ก็ไม่ควรประมาท โดยเฉพาะบน “เส้นทางที่เสี่ยงอุบัติเหตุ” เช่น
ถนนที่กำลังก่อสร้าง, ถนนที่กำลังมีการปรับปรุงซ่อมแซม, ถนนที่มีเลนสวน, ถนนที่ไหล่ทางแคบ,
ถนนไม่มีไหล่ทาง, ถนนที่มีพื้นผิวจราจรขรุขระ เป็นต้น

ซึ่งเส้นทางในลักษณะที่ว่ามานี้ แม้แต่รถที่ใช้น้ำมันก็ควรต้องระมัดระวังอยู่แล้ว
ยิ่งเป็นรถที่ใช้ก๊าซก็ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ อาจจะเกิดเพลิงไหม้ตามมาได้

ฤดูหนาว...มักมีคำเตือนให้ระวังไฟไหม้อาคารบ้านเรือน
ส่วนกับ “รถใช้ก๊าซ” ต้องระวังมากเป็นพิเศษ...ทุกฤดู
มิฉะนั้นอาจเสียรถ-เสียค่าชดใช้ผู้อื่น...และเสียชีวิต !!.


ที่มา http://www.thaihealth.or.th/node/12429


reporters คู่มือป้องกัน 'ไฟไหม้' 'รถใช้ก๊าซ'

รายการบล็อกของฉัน